Author Archives: Editor Team

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำร่องการส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ โดยใช้จังหวัดเป็นฐาน เน้นการกระจายอำนาจและให้อิสระแก่สถานศึกษานำร่องและหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดนั้น ๆ ให้มีความคล่องตัวในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่เน้นการพัฒนากลไกการจัดการศึกษาร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่

ภาษีทรัพย์สินและการประเมินราคาทรัพย์สินของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน

It is generally recognized that property tax or land and buildings tax is a main source of government revenues that are used to fund community services, such as education, public health, and social welfare. The property tax is also an important tool in promoting land management, stabilizing property price, and supporting fiscal decentralization.

บทความนี้จะพาผู้อ่านไปติดตามการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา รวมถึงการเป็นพื้นที่นำร่องของการเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างจังหวัดขอนแก่น ที่ถือว่าเป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่นมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ เน้นการขับเคลื่อน 3 ด้านหลัก คือ การขนส่ง Logistics & Transportation หรือ Smart Mobility ด้านการประชุมและเศรษฐกิจ MICE City หรือ Smart Economy และด้านการแพทย์ Medical & Healthcare หรือ Smart Living มุ่งสู่การเป็น Medical Hub of  AEC ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ต้องการดูแลสุขภาพเดินทางมายังประเทศไทย และหากพูดถึงจังหวัดขอนแก่นเราอาจจะนึกถึงภาพของไดโนเสาร์หรือวัตถุโบราณ ตามคำขวัญของจังหวัด “พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก” แต่ในปัจจุบันขอนแก่นได้พัฒนาจากภาพจำเมื่อก่อนไปมาก

The World Bank published a comprehensive report in July 2021: “Towards Social Protection 4.0: An assessment of Thailand social protection and Labor market systems”. This report makes recommendations for strengthening Thailand’s social protection and labor market systems in four areas

งานศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในการสร้างแบบจำลอง Logistic Regression สำหรับการวิเคราะห์ความรู้สึก (Sentiment Analysis) ของประชาชนในประเทศไทยที่มีต่อสถานการณ์ COVID-19 ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ถึง 28 พฤศจิกายน 2564 ควบคู่ไปกับการสร้างแบบจำลองเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple Regression) สำหรับการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกของประชาชนและเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ดัชนีความเคลื่อนไหว (Google Mobility Index) เครื่องชี้การท่องเที่ยว (Travel Insights with Google) และจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่รายวัน ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลอง Logistic Regression เมื่อนำข้อมูลมาฝึกฝน (Train) ให้โปรแกรมเรียนรู้ว่าข้อความประเภทใดควรจะจัดให้อยู่ในการแสดงความรู้สึกทางบวกหรือทางลบ จะสามารถอธิบายข้อมูลที่ต้องการทดสอบ (Test) ได้ถูกต้องและแม่นถึงร้อยละ 90 และในส่วนของการทดสอบด้วยแบบจำลองเชิงเส้นอย่างง่าย พบว่า จำนวนความรู้สึกมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับดัชนีความเคลื่อนไหวของ (Google Mobility Index) และเครื่องชี้การท่องเที่ยว (Travel Insights with Google) ขณะที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวัน ไม่ว่าจะทดสอบในภาพรวมหรือจำแนกตามประเภทสื่อสังคมออนไลน์

ภาษีทรัพย์สินและการประเมินราคาทรัพย์สินของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าภาษีทรัพย์สินหรือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นแหล่งรายได้หลักของรัฐบาลที่นำไปใช้เป็นงบประมาณเพื่อพัฒนางานบริการชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการสังคม รวมทั้งบริการสาธารณะต่าง ๆ นอกจากนี้แล้ว ภาษีทรัพย์สินยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการที่ดิน รักษาเสถียรภาพราคาอสังหาริมทรัพย์ และสนับสนุนการกระจายอำนาจทางการเงินและการคลัง

ปัญหามลพิษทางอากาศนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกไปในทางลบ ทั้งประเด็นฝุ่นละอองอันกระทบต่อปัญหาสุขภาพของประชากร และปัญหาโลกร้อนที่เป็นประเด็นสำคัญของประชาคมโลกที่ต้องร่วมมือกันแก้ไข ซึ่งประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหามลพิษทางอากาศดังกล่าวและเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ในประเด็นฝุ่นละออง คณะรัฐมนตรีได้มติให้การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี 2562

tax

ปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีนั้นเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในแง่รายได้ของภาครัฐ โครงสร้างความเป็นธรรมของระบบเศรษฐกิจ และเป็นปัญหาระดับโลกที่หน่วยงานภาครัฐต้องแก้ไขจัดการ ซึ่งการออกแบบนโยบายภาษีเพื่อการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เสียภาษีปฏิบัติตามได้ถูกต้องตามภาระที่แท้จริงนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ดังนั้น ความเข้าใจในปัจจัยและคุณลักษณะที่จะส่งผลให้บุคคลและนิติบุคคลมีแนวโน้มจะหลีกเลี่ยงภาษี (หรือชำระภาษีอย่างถูกต้อง) จะเป็นข้อมูลสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปใช้เพื่อการพิจารณาออกแบบนโยบายภาษีต่อไป

การพัฒนาที่มีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่โดยส่วนใหญ่จะมาจากการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่สามารถตอบโจทย์ที่สอดคล้องกับปัญหาของพื้นที่นั้นๆ ดังตัวอย่างกรณีประเทศสเปน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

แบบจำลอง Nowcasting จะประกอบด้วยแบบจำลองหลักที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องชี้เศรษฐกิจกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ และแบบจำลองเสริมที่มีหน้าที่คาดการณ์เครื่องชี้เศรษฐกิจในกรณีที่เครื่องชี้เศรษฐกิจยังไม่ถูกเผยแพร่ ดังนั้น การทำงานของแบบจำลองจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มแบบจำลองทั้งสอง

90/181