Category Archives: Policy Landscape

ตอนที่ 1 ความยั่งยืนทางการคลังและทิศทางนโยบายการคลังในยุคหลังโควิด-19 ของกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงเรื่องความยั่งยืนด้านหนี้ บทความโดยนวพล 

โดยสรุปแล้วกฎหมายการขยายสัดส่วนผู้ถือหุ้นของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยในบริษัทประกันวินาศภัยของประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงและมีพัฒนาการตามลำดับ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งเป็นไปตามบริบทของธุรกิจประกันวินาศภัย และสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหากวิเคราะห์ในภาพรวมจะเห็นได้ว่า ภาครัฐหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยได้คำนึงถึงการพัฒนาธุรกิจประกันภัยและคุ้มครองประชาชนผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ

งานศึกษานี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างระบบการติดตามข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจ เพื่อนำมาประมวลผลด้วยวิทยาการสมัยใหม่ที่สามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้ด้วยความรวดเร็ว โดยมีกระบวนการ Training Model ให้มีการเรียนรู้ข้อมูลและทำนายกลุ่มข้อมูลที่เรียนรู้เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูล อีกทั้งยังผสมผสานด้วยกระบวนการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคำต่าง ๆ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้วนำมาจัดทำเป็น Policy Dashboard แล้วนำมาประยุกต์เป็นตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Indicator) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงรุกในด้านนโยบายต่าง ๆ อย่าง “ตรงจุด ตรงประเด็น และตรงเวลา”

การกำจัดขยะมูลฝอยด้วยการฝังกลบส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในหลายด้าน ดังนั้น นานาประเทศจึงเลือกใช้มาตรการจัดเก็บภาษีหลุมฝังกลบในการบรรเทาปัญหาดังกล่าวข้างต้น สำหรับประเทศไทยแม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บภาษีหลุมฝังกลบบางประการ แต่หากปรับปรุงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยทั้งระบบให้ดีขึ้น การจัดเก็บภาษีดังกล่าวอาจเหมาะสมที่จะเป็นนวัตกรรมเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยในอนาคตได้

ธุรกิจประกันภัยได้ก้าวเข้าสู่ยุค Digital Transformation และผู้ประกอบการเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ทำให้เป็นประโยชน์และสะดวกต่อการเข้าถึงของลูกค้า ทั้งในด้านการเลือกซื้อบริการประกันภัย การพิจารณารับประกันภัย การแจ้งเคลม และการคืนเบี้ยประกัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เราจึงเริ่มได้ยินคำว่า “InsurTech” กันมากขึ้น

ปัญหาเศรษฐกิจศรีลังกาสืบเนื่องมาจากสงครามกลางเมืองที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 26 ปี รวมถึงการที่รัฐบาลศรีลังกาได้มีการกู้เงินจากต่างประเทศมาเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก อีกทั้ง เมื่อประสบกับวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้ศรีลังกาขาดรายได้จากภาคการท่องเที่ยว จึงยิ่งทำให้ปัญหาที่ศรีลังกาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศเพื่อมาใช้ชำระหนี้ต่างประเทศหนักขึ้นไปอีก อย่างไรก็ดี สำหรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจศรีลังกาสู่วิกฤตเศรษฐกิจไทย คาดว่ามีผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทั้งทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับศรีลังกาที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ

โลกนั้นมีความเป็น Globalization มากขึ้นเมื่อเทียบกับศตวรรษก่อนหน้า ความเชื่อมโยงของความสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมหมายความว่าความตึงเครียดจากมุมนึงของโลกก็อาจจะส่งผลกระทบไปได้ทั่วโลกได้อย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น บทความนี้จะกล่าวถึงความสำคัญของ Geopolitics ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาก Geopolitics และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจและภาคธุรกิจได้

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกต้องร่วมมือกันแก้ไข และดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือ เช่น ความตกลงปารีส และ COP26 เป็นต้น โดยในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน แม้จะมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและรอบด้านให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้แสดงเจตจำนงไว้

บทความฉบับนี้ทำการศึกษาข้อมูลหนี้ครัวเรือนผ่านฐานข้อมูล Micro Data จากการข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งการสำรวจด้านรายได้ที่มีข้อมูลปี 2562 และ 2564 ในขณะนี้เป็นฐานข้อมูลหลักในการวิเคราะห์

ภาษีทรัพย์สินและการประเมินราคาทรัพย์สินของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน

It is generally recognized that property tax or land and buildings tax is a main source of government revenues that are used to fund community services, such as education, public health, and social welfare. The property tax is also an important tool in promoting land management, stabilizing property price, and supporting fiscal decentralization.

10/65