Category Archives: Policy Landscape

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ อย่างมาก แต่แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาคแบบดั่งเดิมจะใช้ประเมินผลกระทบในภาพรวม (Macroeconomic Level) อาจไม่สามารถวิเคราะห์ผลกระทบในระดับจุลภาคได้ (Microeconomic Level) ดังนั้น คณะผู้เขียนจึงได้พัฒนาแบบจำลองการระบาด Susceptible, Infectious, Recovered (SIR) ขึ้นเพื่อคาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อ และแบบจำลอง Agent-Based Modeling (ABM) ซึ่งใช้จำลองสถานการณ์และวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Agent ในระบบเศรษฐกิจเชิงจุลภาค (Micro Simulation Modelling) เพื่อประโยชน์ในการจัดทำนโยบายแบบมีกลุ่มเป้าหมาย (Targeted Policy) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวิเคราะห์และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินมาตรการ/โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลภายใต้งบประมาณของประเทศที่มีจำกัด ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในการแสดงถึงความคุ้มค่าของงบประมาณหรือเงินกู้ที่รัฐบาลใช้ไป จากความก้าวหน้าและการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิตอลของโลกยุค 4.0 ที่ทำให้รัฐบาลได้กำหนดเงื่อนไขการใช้เงินผ่านแฟลตฟอร์มมือถือในหลาย ๆ โครงการในช่วงวิกฤต COVID-19 ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยลดการจับต้องวัตถุที่อาจเป็นสาเหตุในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสแล้ว ยังทำให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ศึกษาและประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

การหยิบยื่นมาตรการทางการคลังเพื่อเป็นตาข่ายแห่งความปลอดภัยทางเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Safety Nets) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่รัฐบาลทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญในการเยียวยาช่วยเหลือประชาชนให้มีหลักประกันทางสังคมและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพท่ามกลางรายได้ที่ลดลงในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

มูลเหตุสำคัญของการดำเนินการปฏิรูปการใช้ธนบัตร ล้วนเกี่ยวข้องกับบริบทการเข้ามาของระบอบอาณานิคมในประเทศสยาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบอบอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งมีอาณานิคมส่วนใหญ่ขนาบพื้นที่ด้านตะวันตกของประเทศสยาม ตั้งแต่ในพม่าและจรดแหลมมลายู

ภาพรวมประเทศไทยถูกจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลอยู่ในอันดับที่ 39 จากทั้งหมด 63 ประเทศ ซึ่งดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1 อันดับ อีกทั้ง การจัดอันดับความพร้อมด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร (Networked Readiness Index) ประจำปี 2563 ของ World Economic Forum เพื่อประเมินแนวโน้มความสามารถในการแสวงหาโอกาสจากเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวม 134 ประเทศ ประเทศไทยติดอยู่อันดับที่ 51 ดีขึ้น 5 อันดับจากปี 2562 โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลของภาครัฐและภาคประชาชนที่อันดับดีขึ้นอย่างมาก

In light of the considerable risks that cloud the global recovery, it is imperative that the IMF and World Bank cannot resort to the “policy as usual” approaches as previously adopted during the pandemic. Instead, they need to quit their push for “austerity as the new normal” and shift their policy focus toward facilitating resilience and recovery for vulnerable and poor countries.

โอลิมปิก

การได้เป็นประเทศเจ้าภาพในการจัดโอลิมปิก นอกจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่กล่าวมาข้างต้น ประเทศเจ้าภาพยังต้องแบกรับความเสี่ยงอย่างมาก ทั้งด้านต้นทุนการจัดโอลิมปิก ความไม่แน่นอนของการได้จัดมหกรรมกีฬา และค่าดูแลรักษาที่ผูกพันระยะยาว เป็นต้น

การตลาดธนาคารกลาง : กรณีศึกษาการสื่อสารด้วยข่าวและสื่อออนไลน์

ผลจากการศึกษานี้ได้นำเสนอตัวอย่างแนวทางการประยุกต์ใช้เครื่องมือ TalkWalker ในการวิเคราะห์ 3 กรณีศึกษา ได้แก่ (1) กรณีของข่าวอัตราแลกเปลี่ยน (2) กรณีของข่าวการผ่อนเกณฑ์มาตรการ Loan to Value Ratio (LTV) กับราคาหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และ (3) กรณีของข่าวภาวะเศรษฐกิจกับดัชนี SET100 ผลการวิเคราะห์ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ Virality Map เพื่อศึกษาลักษณะการแพร่กระจายของข่าวสารผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลา และการประยุกต์ใช้ดัชนีแสดงทัศนคติต่อข่าวสาร (Social Media Sentiment) สามารถแสดงถึงรายละเอียดเชิงลึกของบทบาทของข่าวสารที่แพร่กระจายและส่งผลกระทบได้โดยละเอียด

กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล

กรณีที่มีการฟ้องคดีซึ่งต้องบังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฯ หรือกรณีที่ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ การทราบว่าเมื่อมีการฟ้องคดีและสงสัยเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลแล้วจะต้องดำเนินการอย่างไรย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ คือ ทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี ผู้พิพากษา ตุลาการศาลปกครองที่เกี่ยวข้อง และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ทนายความ จึงทำให้ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว

คราฟต์เบียร์

ผู้ที่จะยื่นขออนุญาตผลิตเบียร์ทุกรายจะต้องเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท และมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถดำเนินการผลิตคราฟต์เบียร์ในประเทศได้ ดังนั้น จึงจัดเก็บภาษีได้เฉพาะคราฟต์เบียร์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยปัจจุบัน ผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศต้องแบกรับต้นทุนค่าขนส่งและค่าตู้คอนเทนเนอร์เพื่อเก็บรักษาความเย็นของเบียร์ระหว่างการขนส่ง ทำให้คราฟต์เบียร์ไทยมีราคาสูงและแข่งขันในตลาดได้ยากเมื่อเทียบกับเบียร์ที่ผลิตภายในประเทศ

30/65