Category Archives: World

thailand

การกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจในระยะ 20 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มที่ดีทำให้เกิดความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นเห็นได้จากการเติบโตของผลิตภัณฑ์จังหวัดที่มีการไล่ตามกันระหว่างกลุ่มจังหวัดที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดต่ำแต่มีการเติบโตที่สูงในขณะที่มีบางกลุ่มจังหวัดที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดสูงแต่มีอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่า อีกทั้งยังเห็นได้ว่าการเติบโตของแต่ละจังหวัดมีความสัมพันธ์กับจังหวัดที่อยู่ข้างเคียงอย่างค่อนข้างมีนัยสำคัญทำให้การเติบโตของจังหวัดต่างๆ มีแนวโน้มที่จะเติบโตเกาะกลุ่มไปด้วยกัน

NHTS-PR

Listahanan ได้รับการยกย่องจาก ธนาคารโลก ว่าเป็น “ตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดี” สำหรับประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการจะการลงทะเบียนดังกล่าว โดย Listahanan สามารถช่วยรัฐบาลสามารถกำหนดเป้าหมายโครงการต่าง ๆ ให้กับคนยากจนและกลุ่มเปราะบางอย่างถูกฝาถูกตัว โดยการบอกว่าครอบครัวที่ยากจนเป็นใครและอาศัยอยู่ที่ไหน ช่วยให้สามารถเลือกผู้รับผลประโยชน์จากโครงการของรัฐบาลได้อย่างเป็นกลางโดยใช้เกณฑ์ที่โปร่งใส เป็นกลาง และตรวจสอบได้ ซึ่งได้รับการตรวจสอบโดยชุมชน เพื่อประเมินความยากจนในครอบครัวชาวฟิลิปปินส์ (Dr. Mara Warwick, World Bank, 2015)

OECD

เมื่อพิจารณาด้วย Network Analysis จะเห็นได้ว่า ในปี ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามและเป็นอุตสาหกรรมหลักของการผลิตและความเชื่อมโยงระหว่างภาคผลิต ประกอบด้วยอุตสาหกรรมเบา เช่น กระดาษ, แร่อโลหะ และอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไป ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ประเทศเวียดนามได้ใช้การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเป็นกลไกหลักในการผลักดันเศรษฐกิจ ทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของเวียดนามเปลี่ยนไป ซึ่งในปี ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) ผลจาก Network Analysis แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมหลักประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมปิโตรเลียม, อุตสาหกรรมเคมี, อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ และภาคการค้าปลีก-ค้าส่ง
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณากลุ่มอุตสาหกรรมนี้ร่วมกับค่า Backward และ Forward Multiplier พบว่า สาขาการผลิตเหล่านี้มีค่า Backward และ Forward Multiplier ที่เพิ่มขึ้นสูงสุด สะท้อนถึงสะท้อนถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมดังกล่าวในเศรษฐกิจเวียดนาม ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้จะไม่ใช่อุตสาหกรรมส่งออกหลักของประเทศเวียดนาม แต่ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ด้วยทั้ง 2 วิธีการ ได้ชี้ให้เห็นชัดเจนถึงการเป็นสาขาอุตสาหกรรมพื้นฐานที่ผลิตสินค้าต้นน้ำและเป็นโครงสร้างหลักของประเทศ

การท่องเที่ยวถือเป็นเครื่องยนต์หลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยในปี 2562 รายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 3.0 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 17.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ในช่วงต้นปี 2563 การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกมีการออกมาตรการจำกัดการเดินทาง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2563 หดตัวลงถึงร้อยละ -6.2 ต่อปี

climate change

Green Bond เป็นเครื่องมือสำคัญในการระดมทุนเพื่อดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยตลาด Green Bond มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากแรงผลักดันทางนโยบายที่เกี่ยวข้องและความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อมของนักลงทุน ในขณะเดียวกัน Green Bond ยังคงมีอุปสรรคและความท้าทายในการพัฒนาตลาด ซึ่งการให้ผู้กำหนดนโยบายเข้ามามีบทบาท รวมถึงการจัดทำหลักเกณฑ์ Green Bond ให้เป็นมาตรฐาน และเปิดโอกาสให้ผู้ออก Green Bond รายเล็กสามารถเข้าถึงตลาด Green Bond ได้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาตลาด Green Bond อย่างมาก

การกำจัดขยะมูลฝอยด้วยการฝังกลบส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในหลายด้าน ดังนั้น นานาประเทศจึงเลือกใช้มาตรการจัดเก็บภาษีหลุมฝังกลบในการบรรเทาปัญหาดังกล่าวข้างต้น สำหรับประเทศไทยแม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บภาษีหลุมฝังกลบบางประการ แต่หากปรับปรุงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยทั้งระบบให้ดีขึ้น การจัดเก็บภาษีดังกล่าวอาจเหมาะสมที่จะเป็นนวัตกรรมเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยในอนาคตได้

ปัญหาเศรษฐกิจศรีลังกาสืบเนื่องมาจากสงครามกลางเมืองที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 26 ปี รวมถึงการที่รัฐบาลศรีลังกาได้มีการกู้เงินจากต่างประเทศมาเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก อีกทั้ง เมื่อประสบกับวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้ศรีลังกาขาดรายได้จากภาคการท่องเที่ยว จึงยิ่งทำให้ปัญหาที่ศรีลังกาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศเพื่อมาใช้ชำระหนี้ต่างประเทศหนักขึ้นไปอีก อย่างไรก็ดี สำหรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจศรีลังกาสู่วิกฤตเศรษฐกิจไทย คาดว่ามีผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทั้งทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับศรีลังกาที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ

โลกนั้นมีความเป็น Globalization มากขึ้นเมื่อเทียบกับศตวรรษก่อนหน้า ความเชื่อมโยงของความสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมหมายความว่าความตึงเครียดจากมุมนึงของโลกก็อาจจะส่งผลกระทบไปได้ทั่วโลกได้อย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น บทความนี้จะกล่าวถึงความสำคัญของ Geopolitics ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาก Geopolitics และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจและภาคธุรกิจได้

ในปัจจุบัน หน่วยงานท้องถิ่นในต่างประเทศได้ดำเนินโครงการการระดมทุนสาธารณะ เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของคนในชุมชน ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความมีส่วนร่วมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของคนในชุมชนแล้ว ยังเป็นการช่วยลดภาระงบประมาณของภาครัฐในการบริการสาธารณะอีกด้วย

CMIM ถือเป็นความร่วมมือทางการเงินและกลไกความช่วยเหลือทางการเงิน (Financial Safety Net) ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน+3 และเป็นความร่วมมือทางการเงินที่เป็นรูปธรรมที่สุดของภูมิภาคอาเซียน+3 ภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM+3)

70/87