สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งกับวารสารการเงินการคลัง ฉบับ e-Book ล่าสุด ในฉบับที่ 119 ปีที่ 37 ประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2567 นะครับ
ก่อนอื่นขอประชาสัมพันธ์เว็บไซต์วารสารการเงินการคลัง www.fpojournal.com อีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันมี Section น้องใหม่ชื่อว่า Economic Brief เป็นการสรุปการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และการตีแผ่ข้อมูลเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่น่าสนใจในรูปแบบ infographic 1 หน้า โดยปัจจุบันมีมากกว่า 50 หัวข้อให้ทุกท่านได้เข้าไปเยี่ยมชมนะครับ นอกจากนี้ วารสารการเงินการคลังยังมีช่องทาง YouTube ให้ทุกท่านได้ติดตาม ซึ่งล่าสุดมีเนื้อหาดี ๆ เกี่ยวกับทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากกับ ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล การขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน การวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเงินเพื่อจัดทำนโยบายการเงินการคลัง และบทบาทการเสริมสร้างองค์ความรู้ทางการเงินให้แก่ SMEs ไทยของคนรุ่นใหม่เป็นคลิปสั้น ๆ ให้ติดตามกันด้วยครับ ทั้งนี้ เรายังคงมีเรื่องราวดี ๆ ในรูปแบบของบทความมานำเสนอให้ทุกท่านได้อ่านอย่างครบรสเช่นเคย โดยสำหรับบทความของวารสารการเงินการคลังฉบับนี้เราจะพาทุกท่านไปเปิดมุมมองของการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจในมิติที่หลากหลายผ่านการถ่ายทอดเรื่องราวจากบรรดานักเขียนรุ่นใหญ่ รุ่นกลาง และรุ่นใหม่ ที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ โดยเริ่มต้นเรื่องแรกวารสารการเงินการคลัง ขอนำทุกท่านมาร่วมติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับทางออกความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจไทย: สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต จากนั้นเราจะพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับแนวคิดภาษีบ้านเกิดและภาษีบ้านอยู่ : ทางเลือกใหม่ รายได้ท้องถิ่น ? และต่อด้วยการตีแผ่ภาพรวมของงานศึกษา “แผนที่การเงินครัวเรือนไทย: เข็มทิศการพัฒนาทักษะทางการเงิน” (Symposium) ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง นอกจากนี้ ยังมีบทความที่น่าสนใจให้ผู้อ่านได้เพลิดเพลินอีกหลายเรื่องซึ่งยังคงเต็มไปด้วยสาระความรู้และความสนุกในประเด็นด้านการค้าและการลงทุนที่น่าสนใจ โดยเราขอเริ่มนำเสนอบทความเรื่องการส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ และต่อด้วยบทความเรื่องผลกระทบของสาขาอสังหาริมทรัพย์ที่มีต่อเศรษฐกิจไทย อีกทั้ง เราจะพานักอ่านทุกท่านไปเจาะลึกเรื่องราวการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตามแนวคิด Smart City เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมือง ภายใต้การขับเคลื่อนและการบริหารของผู้บริหารเทศบาลนครยะลา รวมทั้งการตีแผ่แนวทางการขับเคลื่อนการให้ความรู้และทักษะทางการเงินแก่ผู้ประกอบการ SMEs ไทย จากการสัมภาษณ์แขกรับเชิญในรายการ Local reach ตอน Discussion on Youth involvement in empowering financial literacy for Thai SMEs และสุดท้ายเราขอนำเสนอเรื่องราวของเศรษฐกิจการค้าโลก ภายใต้บทความเรื่อง ย้อนอดีตสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน: ภัยคุกคามหรือโอกาสทางเศรษฐกิจ และตามด้วยบทความเรื่อง Why Chinese Tourist Numbers Have Not Fully Recovered Post-Pandemic ที่จะนำมาเสิร์ฟผู้อ่านเพื่อความครบรส โดยเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้และเสพติดไปกับความเพลิดเพลินจากการอ่านบทความทั้ง 2 เรื่องนี้
สุดท้ายนี้ ผมขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามวารสารของเรา หากท่านสนใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอบทความผ่านวารสารการเงินการคลัง โปรดส่งบทความผ่านเข้ามาทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) : fpojournaleditor@gmail.com นอกจากนี้ หากท่านต้องการให้วารสารการเงินการคลังเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์องค์กรหรือผลิตภัณฑ์ของท่าน โปรดติดต่อ 092 258 6782 หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ fiscaljournal@gmail.com ได้เลยครับ ขอให้ทุกท่านสนุกและเพลิดเพลินกับเรื่องราวดี ๆ ในวารสารของเรา
แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ
บรรณาธิการวารสารการเงินการคลัง
ดร. นรพัชร์ อัศววัลลภ
30 ตุลาคม 2567