การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการใช้จ่ายภาครัฐที่มีต่อ GDP โดยใช้ตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) เปรียบเทียบระหว่างรายจ่ายเงินโอนให้ประชาชนทั่วไปและเงินโอนให้ผู้มีรายได้น้อย

การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการใช้จ่ายภาครัฐที่มีต่อ GDP โดยใช้ตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) เปรียบเทียบระหว่างรายจ่ายเงินโอนให้ประชาชนทั่วไปและเงินโอนให้ผู้มีรายได้น้อย

บทความโดย
นรพัชร์ อัศววัลลภ
กวิน เอี่ยมตระกูล

บทสรุปผู้บริหาร

ตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) คือ เครื่องมือในการวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้จ่ายรัฐบาล (หรือการลดอัตราภาษี) ว่าเงินที่รัฐบาลใช้ในการดำเนินนโยบายการคลังก่อให้เกิด GDP ในระบบเศรษฐกิจเป็นกี่เท่าของเงินตั้งต้น

ทั้งนี้ หากใช้แนวคิดตัวคูณทางการคลังในการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการใช้จ่ายภาครัฐที่มีต่อ GDP ภายใต้การคำนวณแบบเศรษฐกิจเปิด (Open Economy) พบว่า ตัวคูณทางการคลังของรายจ่ายเงินโอนให้ประชาชนทั่วไปมีค่า 0.94 เท่า ขณะที่รายจ่ายเงินโอนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเท่ากับ 1.31 เท่า

การคำนวณตัวคูณทางการคลังในบทความฉบับนี้ เป็นเพียงการคำนวณผลกระทบต่อ GDP ตามแบบจำลองอย่างง่ายของ Keynes โดยอาศัยหลักการคำนวณที่ประยุกต์จากคู่มือการวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP โดยตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multipliers) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปี 2564 โดยนำมาปรับเปลี่ยนวิธีการอธิบายและปรับปรุงข้อมูลให้มีความสมบูรณ์เป็นปัจจุบันมากขึ้น

ตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) คือ การวิเคราะห์การใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นนั้น (หรือการลดอัตราภาษี) จะก่อให้เกิด GDP ในระบบเศรษฐกิจเท่าใด ซึ่งตัวคูณทางการคลังจะมีความแตกต่างกันไปตามค่าความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal Propensity to Consume: MPC) และความโน้มเอียงในการนำเข้าหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal Propensity to Import: MPM) ของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รายละเอียด ดังนี้

1.แนวคิดการคำนวณตัวคูณทางการคลัง

1.1 ความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal Propensity to Consume: MPC) ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบปิด (Closed Economy)

John Maynard Keynes นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เขียนทฤษฎีแนวคิดทฤษฎีการบริโภค อธิบายโดยสรุปได้ว่า รายได้ที่ใช้จ่ายได้หรือรายได้หลังหักภาษี (Disposable Income) ของบุคคล จะถูกแบ่งออก 2 ส่วน คือ เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนหนึ่งและการออมอีกส่วนหนึ่ง ดังนั้น เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจะถูกใช้จ่ายเพื่อบริโภค อีกส่วนหนึ่งจะเป็นเงินออม โดยนักเศรษฐศาสตร์ได้ใช้ความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal Propensity to Consume: MPC) เป็นเครื่องมือในการวัดค่าของการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของรายได้ 1 หน่วย ทั้งนี้ พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนจะมีความแตกต่างกันไปตามระดับรายได้ กล่าวคือ MPC ของผู้มีรายได้สูงจะมีค่าต่ำกว่า MPC ของผู้มีรายได้น้อย เนื่องจาก ผู้มีรายได้น้อยนั้นการจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของตัวเองและครอบครัว ย่อมมีความสำคัญและจำเป็นมากกว่าการออมและการลงทุน ในทางตรงกันข้ามผู้มีรายได้สูงจะบริโภคลดลงและออมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตนเองและครอบครัวมีปัจจัยพื้นฐานที่เพียงพอต่อการดำรงชีพแล้ว

หากใช้หลักความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยที่เพิ่มขึ้น ในกรณีของผู้มีรายได้น้อยนั้นย่อมมีผลกระทบ
ต่อเศรษฐกิจมากกว่าคนที่มีรายได้สูง จากการคำนวณ MPC โดยอาศัยข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือน (Household Socio-Economic Survey: SES) ล่าสุดปีครึ่งปี พ.ศ. 2566 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และทำการแบ่งครัวเรือนตามลำดับของรายได้ประจำเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนจากน้อยไปมาก ออกเป็น 5 กลุ่ม เท่า ๆ กัน โดยแต่ละกลุ่ม จะมีจำนวนครัวเรือนเป็นร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมด โดยกำหนดให้ค่า MPC คำนวณจากรายได้หลังหักภาษี (Disposable Income Income) ของครัวเรือนซึ่งเป็นรายได้ที่หักภาษีเงินได้ ภาษีบำรุงท้องที่ และค่าบริการทางการเงินและค่าธรรมเนียม ขณะที่รายจ่ายคำนวณเฉพาะรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค

ผลการศึกษา พบว่า ครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยที่สุด (Quintile 1) มีค่า MPC เท่ากับ 0.76 แปลว่า
หากครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น 100 บาทจะทำให้เกิดการบริโภคเพิ่มขึ้น 76 บาท แต่สำหรับครัวเรือนรายได้มากที่สุด (Quintile 5) MPC มีค่า 0.42 แสดงว่าหากครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น 100 บาทก็จะบริโภคเพิ่มขึ้นน้อยกว่า
อยู่ที่ 42 บาท เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าเมื่อประชาชนมีรายได้มากขึ้น สัดส่วนรายได้ที่นำไปใช้บริโภคจะลดลง รายละเอียดดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 ความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal Propensity to Consume: MPC)
ตามระดับรายได้

ค่า MPC

ที่มา: ข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ครึ่งปี พ.ศ. 2566 สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดย สศค.

1.2 ความโน้มเอียงในการนำเข้าหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal Propensity to Import: MPM)

ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (Open Economy) ภาคการค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญ
โดยการบริโภคของประชาชนนั้น นอกจากจะได้มาจากการผลิตในประเทศแล้ว ยังสามารถนำเข้าสินค้าเพื่อมาบริโภคได้เช่นกัน โดยเมื่อประชาชนในประเทศสั่งสินค้านำเข้ามาจะต้องชำระค่าสินค้า ทำให้เกิดส่วนรั่วไหลที่ไม่ก่อให้เกิด GDP ขึ้น ถ้าต้องการพิจารณาว่าเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะทำให้ปริมาณสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นเท่าใด ค่าที่ได้นี้เรียกว่าความโน้มเอียงในการนำเข้าสินค้าหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal Propensity to Import : MPM) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานศึกษาฉบับนี้ คือ เมื่อรายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น ประชาชนจะเพิ่มการบริโภคสินค้าและบริการ โดยบางส่วนนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีสูตรดังนี้

เมื่อ

ในกรณีของประชาชนทั่วไป จากการวิเคราะห์ด้วยตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต ปี พ.ศ. 2558 พบว่า สัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภคเท่ากับ 0.22 ขณะที่กรณีประชาชนผู้มีรายได้น้อย การคำนวณสัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภคจะพิจารณาจากรายการสินค้าที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อในร้านธงฟ้าประชารัฐ โดยงานศึกษาของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนใหญ่ซื้อข้าวสารสูงถึงร้อยละ 25.2 ของค่าใช้จ่าย รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ซักผ้าและของใช้ประจำวันที่มีสัดส่วนร้อยละ 13.8 และ 12.1 ตามลำดับ รายละเอียดดังรูปที่ 2 ทั้งนี้ หากพิจารณาสัดส่วนการนำเข้าสินค้า (Import Content) ของสินค้าผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อในร้านธงฟ้าประชารัฐ ผ่านการวิเคราะห์ด้วยตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต พบว่า อาหารแห้ง ผลิตภัณฑ์ซักผ้า และของใช้ในชีวิตประจำวัน มีสัดส่วนการนำเข้าสูงเป็น 3 ลำดับแรก โดยมีสัดส่วนการนำเข้าที่ร้อยละ 41.2 34.2 และ 29.8 ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลทั้งสองชุดมาคำนวณค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก จะได้ค่าสัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภคของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเท่ากับ 0.16 รายละเอียดดังตารางที่ 1 ดังนั้น ผลการวิเคราะห์จึงชี้ให้เห็นว่า สัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภคของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่ำกว่า สัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภคของประชาชนทั่วไป

รูปที่ 2 สัดส่วนรายการสินค้าที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อในร้านธงฟ้าประชารัฐ

ที่มา: โครงการกิจกรรมยกระดับศักยภาพร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าประชารัฐในการติดตาม
       ผลการดำเนินโครงการธงฟ้าประชารัฐ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ตารางที่ 1 ความโน้มเอียงในการนำเข้าหน่วยที่เพิ่มขึ้นของผู้ถือบัตรสวัสดิการใช้ซื้อสินค้า
ในร้านธงฟ้าประชารัฐ

รายการสินค้าสัดส่วนรายการสินค้าที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการใช้ในร้านธงฟ้าประชารัฐสัดส่วนการนำเข้า (Import Content)สัดส่วนการนำเข้าต่อการบริโภค
ข้าวสาร25.2%0.7%0.002
ผลิตภัณฑ์ซักผ้า13.8%34.2%0.047
ของใช้ประจำวัน12.1%29.8%0.036
เครื่องดื่ม10.8%18.5%0.020
ไข่9.6%1.1%0.001
เครื่องปรุงอาหาร8.6%9.4%0.008
น้ำมันพืช7.6%20.2%0.015
อาหารแห้ง5.8%41.2%0.024
เนื้อสัตว์4.0%2.5%0.001
ผักและผลไม้2.5%8.0%0.001
สัดส่วนการนำเข้าต่อการบริโภคเฉลี่ย0.16
ที่มา: ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต ล่าสุดปี 2558 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คำนวณโดย สศค.

อย่างไรก็ดี การใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตในการวิเคราะห์สัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภคเพียงอย่างเดียว อาจไม่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเนื่องจากมีการจัดทำตารางดังกล่าวทุก 5 ปี และข้อมูลล่าสุดคือ ปี พ.ศ. 2558 ดังนั้น ในการคำนวณ MPM คณะผู้เขียนจึงคำนวนจากผลคูณระหว่าง MPC กับสัดส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงการนำเข้าสินค้าเพื่อบริโภคและการเปลี่ยนแปลงการบริโภคThis image has an empty alt attribute; its file name is image-54-94x82.png

ทั้งนี้ ในการคำนวณสัดส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงการนำเข้าสินค้าเพื่อบริโภคและการเปลี่ยนแปลงการบริโภค This image has an empty alt attribute; its file name is image-54-94x82.png ของประชาชนทั่วไป สศค. จะใช้ข้อมูลเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี (ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2556 ไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2566) เพื่อไม่ให้ข้อมูลมีความความผันผวนมากเกินไป โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนั้น จึงคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Coefficient) ระหว่างบริโภคและการนำเข้าเพื่อการบริโภคได้เท่ากับ 0.15 รายละเอียดดังตารางที่ 3

อย่างไรก็ดี วิธีการคำนวณสัดส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงการนำเข้าสินค้าเพื่อบริโภคและ การเปลี่ยนแปลงการบริโภค This image has an empty alt attribute; its file name is image-54-94x82.png ของประชาชนทั่วไป มีข้อจำกัดคือไม่สามารถจำแนกตามกลุ่มรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ดังนั้น หากใช้สัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภคที่คำนวณจากตารางปัจจัยการผลิตของประชาชนทั่วไปที่ 0.22 และสัดส่วนการนำเข้าเพื่อการบริโภคต่อการบริโภคผู้มีรายได้น้อยที่ 0.16 จะอยู่ที่ร้อยละ 72.7 (0.16/0.22) ทำให้สัดส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงการนำเข้าสินค้าเพื่อบริโภคและการเปลี่ยนแปลงการบริโภคThis image has an empty alt attribute; its file name is image-54-94x82.png ของผู้มีรายได้น้อยเท่ากับ 0.11

ตารางที่ 3 การบริโภคภาคเอกชนและการการนำเข้าสินค้าเพื่อบริโภค 10 ปีย้อนหลัง
(ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2556 – ไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2566)

หน่วย : ล้านบาท

ไตรมาส/ปีการบริโภคภาคเอกชนการนำเข้าเพื่อการบริโภค
4 / 2556       1,679,148195,182
1 / 2557       1,662,983188,094
2 / 2557       1,783,911190,925
………………………
1 / 2566       2,444,749337,040
2 / 2566       2,626,891323,055
3 / 2566       2,652,374334,854
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างบริโภคและการนำเข้าเพื่อการบริโภค0.15
ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศ คำนวณโดย สศค.

2.การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการใช้จ่ายภาครัฐที่มีต่อ GDP

2.1 กรณีเงินโอนให้ประชาชนทั่วไป

เมื่อภาครัฐเพิ่มรายจ่ายเงินโอนให้แก่ประชาชนทั่วไป การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการโอนอำนาจซื้อจากรัฐบาลไปสู่ประชาชน ความต้องการสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายจะยังไม่เพิ่มขึ้น และ GDP ยังคงเดิม ต่อมาเมื่อประชาชนเพิ่มระดับการใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการได้รับเงินโอนจากรัฐบาล จะส่งผลให้ระดับการบริโภค
การนำเข้า และ GDP เพิ่มสูงขึ้นในที่สุด (อาศัยสมมติฐานว่าการซื้อสินค้าและบริการนั้นเป็นอุปสงค์ใหม่หรือ New Demand ในระบบเศรษฐกิจ ตามสัดส่วน MPC และ MPM ที่กำหนด) ทั้งนี้ การเพิ่มรายจ่ายเงินโอนดังกล่าว
จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในรอบการหมุนเวียน การใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้

รอบที่ 1 ภาครัฐเพิ่มรายจ่ายเงินโอนแก่ประชาชนทั่วไป ความต้องการสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย
ไม่เพิ่มขึ้น GDP ยังคงเดิม

รอบที่ 2 ประชาชนทั่วไปที่ได้รับเงินโอนจากภาครัฐในรอบก่อนหน้า จะบริโภคและนำเข้าเพิ่มขึ้น
ตามสัดส่วน MPC และ MPM ทำให้มีเงินไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นและ GDP เพิ่มสูงขึ้น

รอบที่ 3 การที่ประชาชนใช้จ่าย และผลักดันให้ GDP สูงขึ้นในรอบก่อนหน้า จะทำให้รายได้ประชาชนทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ประชาชนจึงบริโภคและนำเข้าเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน MPC และ MPM ทำให้มีเงินไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น และ GDP เพิ่มสูงขึ้น

รอบถัดไป: เหตุการณ์ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในรอบที่ 3 อย่างไรก็ดี ค่าตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) ตั้งแต่รอบที่ 10 มีแนวโน้ม (Converge) เข้าสู่ 0

ทั้งนี้ สามารถสรุปการหมุนเวียนของเงินและการใช้จ่ายในรอบต่าง ๆ ของรายจ่ายเงินโอนให้ประชาชนทั่วไป รายละเอียดดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 การหมุนเวียนของเงินและการใช้จ่ายในรอบต่าง ๆ กรณีโอนเงินให้ประชาชนทั่วไป

รอบ∆C∆I∆G∆X∆M∆GDPผลการแทนค่า
11 
2aaba(1-b)0.48
3a 2(1-b)a2(1-b)ba2(1-b)20.23
4a3(1-b)2a3(1-b)2ba3(1-b)30.11
5a4(1-b)3a4(1-b)3ba4(1-b)40.06
…….…..….…….…..…..…………
ค่าตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier)0.94
ที่มา : ประยุกต์จากคู่มือการวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP โดยตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multipliers) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

หมายเหตุ: สมมติฐานในการคำนวณ ค่าตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) กรณีรายจ่ายเงินโอนให้ประชาชนทั่วไป มีรายละเอียดดังนี้

  • ค่า MPC ของประชาชนทั่วไป หรือ a เท่ากับ 0.57 (คำนวณจากข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนครึ่งปี พ.ศ. 2566 สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
  • ค่า This image has an empty alt attribute; its file name is image-54-94x82.pngของประชาชนทั่วไป หรือ b เท่ากับ 0.15 ทำให้ค่า MPM ของประชาชนทั่วไป เท่ากับ 0.57*0.15 = 0.09 (คำนวณจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตล่าสุดปี 2558 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย)
  • ∆ คือ การเปลี่ยนแปลง, ∆GDP = ∆C + ∆I+ ∆G+ ∆X- ∆M
  • GDP ในที่นี้เป็นเพียง GDP ที่สอดคล้องกับแบบจำลองอย่างง่ายของเคนส์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไป หากสมมติฐาน แบบจำลอง และวิธีการคำนวณเปลี่ยนแปลงไป

ภายใต้สมมุติฐาน MPC และ MPM ที่กล่าวมาข้างต้น หากการคำนวณดำเนินต่อไปหลายๆ รอบ
สามารถคำนวณค่าตัวคูณทางการคลัง กรณีรายจ่ายโอนเงินให้ประชาชนทั่วไป ได้เท่ากับ 0.94 เท่า หมายความว่า เงิน 100 บาท จะทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 94 บาท

2.2 กรณีเงินโอนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย

เมื่อภาครัฐให้วงเงินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย เงินดังกล่าวจะโอนเงินจากรัฐบาล (Transfer) ไปสู่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ความต้องการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายจะยังไม่เพิ่มขึ้น และ GDP ยังคงเดิม โดยเงินจะเริ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อผู้มีรายได้น้อยนำไปใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการ โดยอาศัยสมมติฐานว่าการซื้อสินค้าและบริการนั้นเป็นอุปสงค์ใหม่ (New Demand) ในระบบเศรษฐกิจ ตามสัดส่วน MPC และ MPM ที่กำหนด ซึ่งจะส่งผลให้การบริโภค การนำเข้า และ GDP เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ รายจ่ายเงินโอนดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อรอบหมุนเวียนการใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้

รอบที่ 1 ภาครัฐให้วงเงินแก่ผู้มีรายได้น้อย ถือเป็นเงินโอนจากรัฐบาลไปยังผู้มีรายได้น้อย ความต้องการสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายจะยังไม่เพิ่มขึ้น GDP ยังคงเดิม

รอบที่ 2 ประชาชนผู้มีรายได้น้อยจับจ่ายซื้อสินค้าซึ่งจะเกิดจะบริโภคและนำเข้าตามสัดส่วน MPC และ MPM ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ (GDP) ขึ้น

รอบที่ 3 เมื่อประชาชนผู้มีรายได้น้อยใช้จ่าย และผลักดันให้ GDP สูงขึ้นในรอบก่อนหน้า ทำให้รายได้ประชาชนทั่วไปในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น จึงเกิดการบริโภคและนำเข้าเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน MPC และ MPM ทำให้มีเงินไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจส่งผลให้ GDP เพิ่มสูงขึ้น

รอบถัดไป เหตุการณ์ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในรอบที่ 3 อย่างไรก็ดี ค่าตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) ตั้งแต่รอบที่ 10 มีแนวโน้ม (Converge) เข้าสู่ 0

ทั้งนี้ สามารถสรุปการหมุนเวียนของเงินและการใช้จ่ายในรอบต่าง ๆ ของผู้มีรายได้น้อย รายละเอียด
ดังตารางที่ 5

ตารางที่ 5 การหมุนเวียนของเงินและการใช้จ่ายในรอบต่าง ๆ ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย

รอบ∆C∆I∆G∆X∆M∆GDPผลการแทนค่า
11
2aca(1-c)0.68
3ba(1-c)dba(1-c)ba(1-c)(1-d)0.33
4b2a(1-c)(1-d)db2a(1-c)(1-d)b2a(1-c)(1-d)20.16
5b3a(1-c)(1-d)2db3a(1-c)(1-d)2b3a(1-c)(1-d)30.08
…….…..….…….…..…..…………
ค่าตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier)1.31
ที่มา : ประยุกต์จากคู่มือการวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP โดยตัวคูณทางการคลัง (Fiscal   
         Multipliers) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

หมายเหตุ: สมมติฐานในการคำนวณ ค่าตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) มีรายละเอียดดังนี้

  • ค่า MPC ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย หรือ a เท่ากับ 0.76 (คำนวณจากข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนครึ่งปี พ.ศ. 2566 สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
  • ค่า MPC ของประชาชนทั่วไป หรือ b เท่ากับ 0.57 (คำนวณจากข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนครึ่งปี พ.ศ. 2566 สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
  • ค่า This image has an empty alt attribute; its file name is image-54-94x82.png ของผู้มีรายได้น้อย หรือ c เท่ากับ 0.11 ทำให้ค่า MPM ของผู้มีรายได้น้อย เท่ากับ 0.76*0.11 = 0.08 (คำนวณจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตล่าสุดปี 2558 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย)
  • ค่า This image has an empty alt attribute; its file name is image-54-94x82.png ของประชาชนทั่วไป หรือ d เท่ากับ 0.15 ทำให้ค่า MPM ของประชาชนทั่วไป เท่ากับ 0.57*0.15 = 0.09 (คำนวณจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตล่าสุดปี 2558 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย)
  • ∆ คือ การเปลี่ยนแปลง, ∆GDP = ∆C + ∆I+ ∆G+ ∆X- ∆M
  • GDP ในที่นี้เป็นเพียง GDP ที่สอดคล้องกับแบบจำลองอย่างง่ายของเคนส์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไป หากสมมติฐาน แบบจำลอง และวิธีการคำนวณเปลี่ยนแปลงไป

ภายใต้สมมุติฐาน MPC และ MPM ที่กล่าวมาข้างต้น หากการคำนวณดำเนินต่อไปหลายๆ รอบ
สามารถคำนวณค่าตัวคูณทางการคลัง กรณีเงินโอนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้เท่ากับ 1.31 เท่า
นั้นหมายความว่า การที่ทำให้ผู้มีรายได้น้อยมีรายได้หรือการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐขึ้น 100 บาท จะทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 131 บาท

ดร.นรพัชร์ อัศววัลลภ
ผู้อำนวยการส่วนนวัตกรรมข้อมูลเศรษฐกิจและงานวิจัย
กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
ผู้เขียน

ดร.กวิน เอี่ยมตระกูล
เศรษฐกรชำนาญการ
กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
ผู้เขียน