Tag Archives: เศรษฐกิจไทย

ปัญหาเศรษฐกิจศรีลังกาสืบเนื่องมาจากสงครามกลางเมืองที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 26 ปี รวมถึงการที่รัฐบาลศรีลังกาได้มีการกู้เงินจากต่างประเทศมาเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก อีกทั้ง เมื่อประสบกับวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้ศรีลังกาขาดรายได้จากภาคการท่องเที่ยว จึงยิ่งทำให้ปัญหาที่ศรีลังกาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศเพื่อมาใช้ชำระหนี้ต่างประเทศหนักขึ้นไปอีก อย่างไรก็ดี สำหรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจศรีลังกาสู่วิกฤตเศรษฐกิจไทย คาดว่ามีผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทั้งทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับศรีลังกาที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ

ปัจจุบันไทยได้ดำเนินการลดอัตราภาษีสินค้าสิ่งแวดล้อมของเอเปคครบถ้วนแล้วทั้งสิ้น จำนวน 54 รายการ ณ พิกัดศุลกากรที่ระดับ 6 หลัก เป็นผลสำเร็จ

บทความฉบับนี้ทำการศึกษาข้อมูลหนี้ครัวเรือนผ่านฐานข้อมูล Micro Data จากการข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งการสำรวจด้านรายได้ที่มีข้อมูลปี 2562 และ 2564 ในขณะนี้เป็นฐานข้อมูลหลักในการวิเคราะห์

เมื่อกล่าวถึงหนี้โดยรวมของประเทศ ในภาพใหญ่ๆ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ หนี้สาธารณะและหนี้ภาคเอกชน ในขณะที่หนี้ภาคเอกชนก็สามารถแบ่งได้เป็นอีก 2 ประเภทคือ หนี้ที่ก่อโดยนิติบุคคล และหนี้ที่ก่อโดยบุคคลธรรมดา ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของหนี้ที่ก่อโดยบุคคลธรรมดาหรือที่มักจะเรียกกันว่า หนี้ครัวเรือน (Household Debt)

แบบจำลอง Nowcasting จะประกอบด้วยแบบจำลองหลักที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องชี้เศรษฐกิจกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ และแบบจำลองเสริมที่มีหน้าที่คาดการณ์เครื่องชี้เศรษฐกิจในกรณีที่เครื่องชี้เศรษฐกิจยังไม่ถูกเผยแพร่ ดังนั้น การทำงานของแบบจำลองจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มแบบจำลองทั้งสอง

สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบไปยังหลายจังหวัดของประเทศ โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรกรรม รองลงมาเป็นภาคบริการ และภาคอุตสาหกรรม ตามลำดับ

บทความนี้จะนำเสนอผลจากเครื่องชี้เศรษฐกิจที่มีความรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเครื่องชี้หลายรายการที่มีความถี่สูง สามารถติดตามได้เป็นรายวันซึ่งแตกต่างจากเครื่องชี้เศรษฐกิจทั่วไปซึ่งมักจะมีความถี่เป็นรายเดือน

ผลการศึกษา พบว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้ง 4 ด้าน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ GDP ในทุกสาขาการผลิตเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 231,476 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นผลกระทบต่อ GDP ร้อยละ 1.23 ต่อปี ในขณะที่การลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ GDP ในทุกสาขาการผลิตเฉลี่ยสูงสุดถึง 145,607 ล้านบาท ต่อปี คิดเป็นผลกระทบต่อ GDP เท่ากับร้อยละ 0.77 ต่อปี

ในปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเผชิญกับการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งนับเป็นความท้าทายของ สบน. ในการกู้เงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินมาตรการ/นโยบายทางการคลังเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ดังนั้น การที่ สบน. มีกลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะระยะปานกลางเพื่อเป็นแนวทางในการติดตามความเสี่ยง จะช่วยให้รัฐบาลสามารถบริหารจัดการหนี้สาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย 1) สามารถระดมทุนได้ครบตามจำนวน 2) ออกผลิตภัณฑ์การกู้เงินสอดคล้องกับสภาวะตลาดและความต้องการกู้เงินของนักลงทุน และ 3) มีต้นทุนและความเสี่ยงอยู่ในระดับที่เหมาะสม

ภาพรวมประเทศไทยถูกจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลอยู่ในอันดับที่ 39 จากทั้งหมด 63 ประเทศ ซึ่งดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1 อันดับ อีกทั้ง การจัดอันดับความพร้อมด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร (Networked Readiness Index) ประจำปี 2563 ของ World Economic Forum เพื่อประเมินแนวโน้มความสามารถในการแสวงหาโอกาสจากเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวม 134 ประเทศ ประเทศไทยติดอยู่อันดับที่ 51 ดีขึ้น 5 อันดับจากปี 2562 โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลของภาครัฐและภาคประชาชนที่อันดับดีขึ้นอย่างมาก

10/15