ย้อนอดีตสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน: ภัยคุกคามหรือโอกาสทางเศรษฐกิจ

ย้อนอดีตสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน: ภัยคุกคามหรือโอกาสทางเศรษฐกิจ

บทความโดย
นายชินภัทร ตั้งหะรัฐ

1. บทนำ

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ) กับจีนมีจุดเริ่มต้นของสงครามการค้าจากข้อพิพาทเรื่อง การขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ กับจีน  ประกอบกับนโยบาย “MAKE AMERICA GREAT AGAIN” ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มุ่งเน้น “การคุ้มครองผลประโยชน์ของประเทศ” ซึ่งสหรัฐฯ มองว่าจีนเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ของประเทศ  ส่งผลให้สหรัฐฯ เริ่มใช้นโยบายกีดกันทางการค้ากับจีนโดยมีการดำเนินมาตรการทางภาษี อย่างไรก็ดี จีนไม่ได้นิ่งเฉยต่อมาตราการกีดกันทางการค้าเหล่านี้และได้มีการตอบโต้ด้วยมาตรการกีดกันทางการค้าโดยการดำเนินมาตรการทางภาษีเช่นเดียวกัน

สงครามการค้าระหว่างสองประเทศนี้ส่งผลต่อหลายประเทศทั่วโลกเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งประเทศในกลุ่มอาเซียนก็ได้รับผลกระทบเช่นกันและประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น สงครามการค้าระหว่างสองมหาอำนาจนี้มีทั้งความท้าทายและโอกาศมากมายที่ประเทศไทยต้องประเชิญ สินค้าของประเทศไทยจะสามารถเข้าสู่ตลาดของสหรัฐฯ ได้มากขึ้นโดยเฉพาะสินค้าที่ไทยเป็นคู่แข่งกับประเทศจีน เพราะเนื่องจากภาษีที่เพิ่มมากขึ้นต่อสินค้าจีน ทำให้สหรัฐฯ เปลี่ยนคู่ค้ามานำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นแทน ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยสินค้าที่ไทยสามารถส่งออกไปสหรัฐฯ ได้มากขึ้นหลังจากมีสงครามการค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องบันทึกภาพ และตู้เย็น นอกจากนี้ ไทยยังได้ประโยชน์จากประเทศจีน โดยการที่มีนักลงทุนจากประเทศจีนย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทย เพื่อเลี่ยงภาษีและความเสี่ยงจากสงครามการค้า

ทั้งนี้ ในบทความนี้จะประกอบไปด้วยเนื้อหา 5 ส่วน ได้แก่ 1) ประวัติความเป็นมาของสงครามการค้า 2) ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา – จีน 3) สถานการณ์ปัจจุบันของสงครามการค้า 4) ผลกระทบต่อโลก 5) ผลกระทบต่ออาเซียนและประเทศไทย และ 6) บทสรุป

2. ความเป็นมาของสงครามการค้า

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน เป็นความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่สำคัญระหว่างสองมหาอำนาจโลก โดยมีจุดเริ่มต้นในปี 2560 เมื่อสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ชูนโยบาย “MAKE AMERICA GREAT AGAIN” ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในบรรดาประชาชนสหรัฐฯ จากนโยบายดังกล่าว โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ยึดแนวคิดในการบริหารประเทศว่า การค้าที่เป็นธรรม ต่างตอบแทน และสหรัฐฯ ต้องมาก่อนซึ่งจีนก็ตกเป็นเป้าหมายสำคัญ เพราะจีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มาเป็นระยะเวลายาวนาน และในปี 2560 จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ อยู่ถึง 375 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สหรัฐฯ ได้มีการขึ้นภาษีนำเข้าแผงโซล่าเซลล์ เครื่องซักผ้า อลูมิเนียม เหล็ก และอื่น ๆ ในเดือนมกราคม 2561 กับทุกประเทศ แม้ช่วงแรกของการปรับภาษีขึ้นครั้งนี้ไม่มีการระบุว่าสหรัฐฯ มุ่งเป้าไปที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ในไม่ช้าก็ก็มีความชัดเจนว่า นโยบายการค้าของสหรัฐฯ ได้มุ่งเป้าไปที่จีน การขึ้นภาษีนำเข้าเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อลดการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ กับจีน นอกจากนี้ โดนัลด์ ทรัมป์ ยังคงเพิ่มภาษีสินค้าจากจีนต่อไป ซึ่งจีนก็ได้มีการตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่ากับการขึ้นภาษีที่สหรัฐฯ กำหนดไว้กับสินค้าจีน และทั้งสองประเทศได้มีการตอบโต้กันไปหลายครั้งจนกลายเป็นสงครามการค้าในที่สุด

ในปลายปี 2562 สหรัฐฯ ได้ทยอยขึ้นภาษีสินค้าต่าง ๆ จากจีนจนกระทั่งมีมูลค่ารวมเกือบ 350,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในเดือนมกราคม 2563 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามข้อตกลงการค้าระยะที่ 1 ที่จะหยุดการขึ้นภาษีตอบโต้กัน ถือเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศลงชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ภาษีที่ได้มีการปรับขึ้นไปแล้ว ก็ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ ข้อตกลงดังกล่าวมีข้อกำหนดให้จีนจะต้องเพิ่มการซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ ในหมวดสินค้าอุตสาหกรรม พลังงาน สินค้าการเกษตรและบริการ คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 6 ล้านล้านบาท) ในระยะ 2 ปีข้างหน้า

ในสมัยประธานาธิบดีโจ ไบเดน (ปี 2564 – ปัจจุบัน) แม้ปริมาณสินค้าส่งออกของสหรัฐฯ ไปจีนจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2565 แต่ก็ยังไม่เกินระดับก่อนเกิดสงครามการค้า นอกจากนี้ แม้จะหลีกเลี่ยงสงครามการค้าเต็มรูปแบบได้ในปี 2566 แต่ความตึงเครียดก็ยังคงอยู่ ต่อมา ในเดือนพฤษภาคม 2567 สหรัฐฯ ได้มีขึ้นภาษีรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และสินค้าเชิงกลยุทธ์อื่น ๆ ของจีน ยิ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้าของทั้งสองประเทศ การเคลื่อนไหวนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามที่จะกดดันจีนเกี่ยวกับปัญหาการถ่ายทอดเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญา

ผลที่ตามมาของสงครามการค้าที่ต่อเนื่องนับตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จนถึงสมัยประธานาธิบดี โจ ไบเดน ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยตรง ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการค้าสร้างความไม่มั่นใจให้กับการลงทุน และขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก ธุรกิจต้องเผชิญกับความยากลำบากในการปรับตัวให้เข้าภาษีศุลกากรที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นำไปสู่การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นสำหรับสินค้าที่นำเข้า

ตารางที่ 1: ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญของการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

ปีการดำเนินการมาตรการตอบโต้ทางการค้า
สหรัฐจีน
256122 มกราคม: ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามประกาศให้เก็บภาษีนำเข้าเหล็ก ร้อยละ 25 และอลูมิเนียมร้อยละ 10 จากทุกประเทศ30 มกราคม: สหรัฐฯ ประกาศรายชื่อสินค้าจากจีนมูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่จะถูกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมร้อยละ 258 มีนาคม: สหรัฐฯ เริ่มเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ19 เมษายน: สหรัฐฯ เริ่มเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเติมร้อยละ 104 พฤษภาคม: สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเติมอีกร้อยละ 10 รวมเป็นร้อยละ 2518 มิถุนายน: ประธานาธิบดีทรัมป์ สั่งให้บริษัทอเมริกันหยุดทำธุรกิจกับ Huawei Technologies บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน29 มิถุนายน: ประธานาธิบดีทรัมป์ ลงนามประกาศให้เก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเติมร้อยละ 101 กรกฎาคม: สหรัฐฯ เริ่มเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเติมร้อยละ 101 สิงหาคม: สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเติมอีกร้อยละ 10 รวมเป็นร้อยละ 2517 กันยายน: สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเติมอีกร้อยละ 10 รวมเป็นร้อยละ 351 ธันวาคม: สหรัฐฯ และจีน ตกลงหยุดพักรบการค้าเป็นเวลา 90 วัน  23 มกราคม: จีนประกาศตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ19 มีนาคม: จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ5 เมษายน: จีนประกาศตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเติมร้อยละ 2510 พฤษภาคม: จีนประกาศตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเติมร้อยละ 2511 กรกฎาคม: จีนประกาศตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเติมร้อยละ 2523 สิงหาคม: จีนประกาศตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเติมอีกร้อยละ 5 รวมเป็นร้อยละ 30
256210 พฤษภาคม: สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 3017 มิถุนายน: สหรัฐฯ เตรียมขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 17 มิถุนายน: สหรัฐฯ เตรียมขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 28 มิถุนายน: ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามคำสั่งบริหาร ห้ามบริษัทอเมริกันทำธุรกิจกับ Huawei 11 กรกฎาคม: สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 22 กรกฎาคม: สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 37.5 1 สิงหาคม: สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 30 1 กันยายน: สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากร้อยละ 10 เป็น 15 17 กันยายน: สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นร้อยละ 15 24 กันยายน: สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากร้อยละ 25 เป็น 301 มิถุนายน: จีนขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จาร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 25 24 มิถุนายน: จีนขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 25 ถึง 30 30 กรกฎาคม: จีนขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากร้อยละ 25 ถึง 30 เป็นร้อยละ 25 23 สิงหาคม: จีนขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 25-30
256315 มกราคม: สหรัฐฯ และจีนลงนามข้อตกลงการค้าระยะที่ 1จีนตกลงเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองปี สหรัฐฯ ลดภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่า 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 3 สิงหาคม: สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 1 กันยายน: สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ17 กันยายน: สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ15 ธันวาคม: สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 156.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ29 มิถุนายน: จีนประกาศว่าจะบรรลุเป้าหมายการซื้อสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ5 สิงหาคม: จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 75 พันล้านดอลลาร์23 กันยายน: จีนขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 26 ธันวาคม: จีนขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
25645 กุมภาพันธ์: สหรัฐฯ ยกเว้นภาษีสินค้าจีนบางรายการที่นำเข้ามาเพื่อผลิตยาและเวชภัณฑ์ 2 มีนาคม: จีนประกาศลดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ บางรายการ10 พฤษภาคม: สหรัฐฯ ขยายเวลายกเว้นภาษีสินค้าจีนบางรายการที่นำเข้ามาเพื่อผลิตยาและเวชภัณฑ์ 28 กรกฎาคม: สหรัฐฯ และจีนตกลงที่จะกลับมาเจรจาการค้ากันอีกครั้ง 3 สิงหาคม: สหรัฐฯ ขยายเวลายกเว้นภาษีสินค้าจีนบางรายการที่นำเข้ามาเพื่อผลิตยาและเวชภัณฑ์11 มกราคม: จีนประกาศแผนที่จะเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มเติมอีก 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองปีข้างหน้า 7 มิถุนายน: จีนประกาศแผนที่จะลดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เพิ่มเติม 31 ธันวาคม: ข้อตกลงการค้าระยะที่ 1 ระหว่างสหรัฐฯ และจีนสิ้นสุดลง
25657 มกราคม: สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีศุลกากรเพิ่มเติมร้อยละ 25 กับสินค้าจีนมูลค่า 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมสินค้าเทคโนโลยี ชิ้นส่วนเครื่องบิน อุปกรณ์โทรคมนาคม และสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ 21-22 กุมภาพันธ์: ตัวแทนจากสหรัฐฯ และจีนเข้าร่วมการเจรจารอบแรกในกรุงปักกิ่ง แต่ยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจน 8 มีนาคม: สหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำ Huawei ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ของจีน ห้ามบริษัทสหรัฐฯ ทำธุรกิจกับ Huawei โดยไม่ได้รับอนุญาตพิเศษ 8 มีนาคม: สหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำ Huawei ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ของจีน ห้ามบริษัทสหรัฐฯ ทำธุรกิจกับ Huawei โดยไม่ได้รับอนุญาตพิเศษ 1 เมษายน: สหรัฐฯ เลื่อนกำหนดขึ้นภาษีศุลกากรเพิ่มเติมกับสินค้าจีนมูลค่า 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ออกไปจนถึง 1 กันยายน 10 พฤษภาคม: สหรัฐฯ ยกเลิกข้อตกลงการค้าบางส่วนกับจีน ส่งผลให้สินค้าจีนบางรายการต้องเสียภาษีศุลกากรในอัตราสูงขึ้น 20 มิถุนายน: ประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีศุลกากรเพิ่มเติม 10% กับสินค้าจีนมูลค่า 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมสินค้าทั่วไป เช่น ของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และเสื้อผ้า 11 กรกฎาคม: ตัวแทนจากสหรัฐฯ และจีนกลับมาเจรจาต่อรองกันอีกครั้ง แต่ยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจน 31 ธันวาคม: ข้อตกลงการค้าระยะที่ 2 ระหว่างสหรัฐฯ และจีนสิ้นสุดลง10 มกราคม: จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมหนักจากสหรัฐฯ มูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมสินค้าเกษตร เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าวสาลี ผลไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมหนัก เช่น เครื่องบิน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักร 26 มีนาคม: จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นบัญชีดำบริษัทสหรัฐฯ 26 บริษัท รวมถึง Apple, Boeing, FedEx, and General Motors 21-22 กุมภาพันธ์: ตัวแทนจากสหรัฐฯ และจีนเข้าร่วมการเจรจารอบแรกในกรุงปักกิ่ง แต่ยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจน 26 มีนาคม: จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นบัญชีดำบริษัทสหรัฐฯ 26 บริษัท รวมถึง Apple, Boeing, FedEx, and General Motors 16 เมษายน: จีนประกาศลดภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าบางรายการจากสหรัฐฯ เช่น รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ 9 มิถุนายน: จีนประกาศขึ้นภาษีสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมหนักจากสหรัฐฯ เพิ่มเติม มูลค่า 60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ27 มิถุนายน: จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมสินค้าเกษตร ปิโตรเคมี และสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ
2566  10 มกราคม: สหรัฐฯ ขยายเวลายกเว้นภาษีสินค้าจีนบางรายการที่นำเข้ามาเพื่อผลิตยาและเวชภัณฑ์29 พฤศจิกายน: จีนประกาศลดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ บางรายการ  
256714 พฤษภาคม: สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีสินค้าจีนนำเข้าเพิ่มเติม มูลค่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6.6 แสนล้านบาท)สินค้าที่ถูกขึ้นภาษี เช่น รถยนต์ไฟฟ้า แผงโซลาร์ อุปกรณ์การแพทย์การขึ้นภาษีรอบนี้ เป็นการตอบโต้ต่อมาตรการที่จีนใช้กับสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ2 มิถุนายน: จีนตอบโต้โดยขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ นำเข้า มูลค่า 1.05 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.8 แสนล้านบาท)สินค้าที่ถูกขึ้นภาษี เช่น ผลไม้ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ปุ๋ยจีนยังประกาศว่า จะเริ่มกระบวนการสอบสวนสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพและสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ เพิ่มเติม
ที่มา: Reuters, China Briefing, The New York Times, Office of the United States Trade Representative, The Standard, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, South China Morning Post, wealth me up รวบรวมโดยผู้เขียน

3. ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนในอดีต

จีนและสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทั้งการพึ่งพาอาศัยและการแข่งขันเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา โดยในวันที่  21 กุมภาพันธ์  2515 ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ริชาร์ด นิกสัน เยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งนับเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐที่เยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน การเยือนดังกล่าวยุติการแยกระหว่างสองฝ่ายนาน 25 ปี การเดินทางครั้งนี้ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของทั้งสอยประเทศ ต่อมาจีนได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก (WTO) ในปี 2544 สินค้าราคาถูกของจีนส่งผลดีต่อผู้บริโภคในสหรัฐฯ และช่วยให้ภาคการผลิตของจีนเติบโต มีกำไรจากความต้องการมหาศาลในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคของสหรัฐฯ

เมื่อจีนเริ่มมีการทำการค้าเสรีมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจของจีนเติบโตเป็นอย่างมาก จนเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก และสหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนมานานหลายปี จนทำให้สหรัฐฯ เริ่มกังวลเรื่องกับการตกงานของคนสหรัฐฯ การค้าที่ไม่เป็นธรรม และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ของสหรัฐฯ ในอนาคตความกังวลดังกล่าวเริ่มมากขึ้น จนกระทั่งในปี 2561 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากทำลายสถิติสูงถึง 418.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้รัฐบาลของสหรัฐฯใช้มาตราการกีดกันทางการค้าต่อสินค้าจีน ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ทำให้เกิดสงครามการค้าระหว่างสองประเทศในปีนี้

มาตรการกีดกันทางภาษีในปี 2561 ทำให้ในปี 2562 ตัวเลขการขาดดุลทางการค้าของสหรัฐฯ กับจีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญเหลืออยู่ที่ 342.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงถึงร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มาตรการภาษีที่รัฐบาลสหรัฐฯ กำหนดต่อสินค้าจีนส่งผลกระทบต่อปริมาณการนำเข้าและส่งออก สร้างความตึงเครียดให้กับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ แม้ธุรกิจบางกลุ่มในอเมริกาจะได้ประโยชน์จากการแข่งขันที่ลดลงในบางภาคส่วน แต่ธุรกิจอื่น ๆ กลับเผชิญกับห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงักและต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากมาตรการกีดกันทางการค้าครั้งนี้

ในช่วงต้นปี 2563 สหรัฐและจีนได้มีการลงนามข้อตกลงการค้าระยะที่ 1 จีนเริ่มเพิ่มการซื้อสินค้าเกษตรจากอเมริกามากขึ้น ในขณะเดียวกัน การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในปลายปี 2562 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลก การปิดเมือง (Lockdown) และข้อจำกัดในการเดินทางส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานและความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลง  วิกฤตนี้เบี่ยงเบนความสนใจจากสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนไปชั่วคราว แต่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนกลับทวีความรุนแรงขึ้น  สหรัฐฯ ประณามจีนที่ขาดความโปร่งใสเกี่ยวกับการระบาดในช่วงแรก  ในขณะที่ จีนวิพากษ์วิจารณ์การจัดการกับโรคระบาดของสหรัฐฯ ความขัดแย้งทางการเมืองนี้ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศย่ำแย่ขึ้นไปอีก จากทั้งหมดที่กล่าวไปนี้ประกอบกับภาษีที่ได้มีการขึ้นไปแล้วในช่วงปี 2561 ถึง 2562 ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนลดดลงอยู่ที่ 307.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงประมาณร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ต่อมาในปี 2564 ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ได้เปลี่ยนจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นนายโจ ไบเดน รัฐบาลชุดนี้ของสหรัฐพยายามสร้างพันธมิตรกับประเทศอื่น ๆ เพื่อต่อต้านอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนไม่เน้นไปที่การมาตรการกีดกันทางภาษีเหมือนรัฐบาลก่อนหน้า และจากข้อตกลงการค้าระยะที่ 1 จีนก็นำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้นถึงแม้ว่ายังเท่ากับที่ตกลงกันไว้ในสัญญาทำให้การส่งออกจากสหรัฐฯ ไปจีนเพิ่มขึ้นแต่ในทางกลับกันสหรัฐฯ ก็นำเข้าสินค้าจากจีนมากขึ้นเช่นกันมากกว่าจีนที่นำเข้าเสียอีกส่งผลให้สหรัฐฯ ขาดดุลทางการค้ามากขึ้นในปีนี้อยู่ที่ 352.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในช่วงต้นปี 2565 สงครามการค้าระหว่างจีนกับอเมริกามีท่าทีตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง เมื่อสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีสินค้าจีน มูลค่าเกือบ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เช่นกัน ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานสินค้าหยุดชะงัก สินค้าขาดแคลน ส่งผลให้ราคาสินค้าผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรในสหรัฐฯ ที่พึ่งพาการส่งออกไปจีนเป็นอย่างมากประสบปัญหาทางการเงิน ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวอยู่แล้ว ยิ่งทรุดหนักลงไปอีก แม้จะมีผลกระทบด้านลบ แต่ความพยายามในการแก้ไขปัญหาก็ยังคงดำเนินต่อไป ตลอดทั้งปีมีการเจรจาระหว่างสองยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ แต่ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ อุปสรรคสำคัญคือจุดยืนที่แข็งกร้าวของทั้งสองฝ่าย ทำให้การบรรลุข้อตกลงเป็นไปได้ยากในปี 2565 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นเป็น 382.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐขาดดุลมากขึ้นถึง ร้อยละ 8.3 แม้ว่าสหรัฐฯ จะประกาศใช้มาตรการขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่จีนก็ตอบโต้ด้วยมาตรการที่คล้ายคลึงกัน การขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ไม่ได้ช่วยลดการพึ่งพาสินค้านำเข้าจากจีนลงแต่อย่างใด ผู้บริโภคชาวอเมริกันยังคงนิยมซื้อสินค้าจีนเพราะมีราคาไม่แพง นอกจากนี้การแยกแยะสินค้าจีนออกจากสินค้าอื่น ๆ ทำได้ยากเนื่องจากสินค้าที่ประกอบขึ้นในประเทศอื่น ๆ หลายครั้งมักมีชิ้นส่วนที่ผลิตในจีน

แม้ในปี 2566 การขาดดุลการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนลดลงอยู่ที่ 279.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การขาดดุลที่ลดลงนี้ส่วนใหญ่มาจากการที่จีนส่งออกได้น้อยลงเหลือเพียง 426.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมาจากการที่เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวและการส่งออกที่น้อยลงนี้มีสาเหตุมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภคชาวอเมริกัน ทั้งนี้ แม้การขาดดุลทางการค้าจะลดลงแต่ความตึงเครียดของทั้งสองประเทศยังคงอยู่

ภาพที่ 1: มูลค่าการนำเข้า – ส่งออก ของสหรัฐฯ กับจีน (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มา: United States Census Bureau รวบรวมโดยผู้เขียน

4.สถานการณ์ปัจจุบันของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

ในวันที่ 14 พฤษภาคม ปี 2567 สหรัฐฯ ประกาศมาตรการปกป้องธุรกิจและแรงงานในประเทศโดยการขึ้นภาษีนำเข้ารอบใหม่กับจีน มูลค่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนักวิเคราะห์บางส่วนได้วิเคราะห์การขึ้นภาษีครั้งนี้ว่าเป็นประเด็นทางด้านการเมืองเพราะเนื่องจากปลายปี 2567 จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ครั้งใหม่ โดยได้มีการขึ้นภาษีศุลกากรเพิ่มเติมภายใต้มาตรา 301 ซึ่งจะมีผลต่อสินค้านำเข้าจากจีนในหลายกลุ่มเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จาก ร้อยละ 25 เป็น ร้อยละ 100 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดของสินค้าทุกประเภท แต่สหรัฐฯ ได้มีการนำเข้ารถยนต์ของจีนเพียง ร้อยละ 1 ถึง 2 เท่านั้น รวมถึงแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจาก ร้อยละ 7.5 เป็น ร้อยละ 25 เซมิคอนดักเตอร์และแผงโซลาร์เซลล์จาก ร้อยละ 25 เป็น ร้อยละ 50 ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จาก ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 7.5 เป็น ร้อยละ 25 ถึง ร้อยละ 50 โดยจะทยอยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2567 นี้ไปจนถึงปี 2569

ตารางที่ 2: อัตราภาษีนำเข้ารอบใหม่ของสหรัฐฯ

ประเภทอัตราภาษีเก่า (%)อัตราภาษีใหม่(%)ปีที่มีผลบังคับใช้
เข็มฉีดยา502567
รถยนต์ไฟฟ้า251002567
หน้ากากอนามัย0-7.5252567
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า7.5252567
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ไม่ใช่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า7.5252569
ถุงมือทางการแพทย์7.5252569
แร่แกรไฟต์252569  
แร่ธาตุสำคัญอื่น ๆ252569
แม่เหล็กถาวร252569
เซมิคอนดักเตอร์25502568
ปั้นจั่นยกตู้สินค้า252567
แผงโซลาร์เซลล์25502567
ผลิตภัณฑ์เหล็กและอลูมิเนียม0-7.5252567
ที่มา: The White House, US International Trade Commission, Reuters รวบรวมโดยผู้เขียน

ภาพที่ 2: ประเทศที่สหรัฐอเมริกานำเข้าสินค้ามากที่สุด 5 อันดับแรก (หน่วย: พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มา: CEIC DATA คำนวณโดยผู้เขียน

การที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนมานานทำให้สหรัฐฯ เริ่มที่จะเบี่ยงไปหาคู่ค้าอยู่ใกล้กันมากขึ้น เช่น เม็กซิโก และ แคนนาดา เพื่อลดมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากจีน จากภาพประกอบที่ 2 จะเห็นได้ว่าจีนเป็นประเทศที่สหรัฐฯ นำเข้าสินค้ามากที่สุดมาเป็นระยะเวลนานหลายปีแต่พอมาปี 2566 ประเทศที่สหรัฐนำเข้าสินค้ามากที่สุดกลับเป็นประเทศเม็กซิโก มูลค่าประมาณ 454 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังนำเข้าสินค้าจากแคนนาดาเพิ่มมากขึ้น จนเกือบเทียบเท่าจีนในปีนี้อยู่ที่ 421 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  และตามมาด้วยญี่ปุ่นกับเยอรมนี

จีนก็ได้มีการเตรียมมาตรการตอบโต้สงครามการค้าล่าสุดโดยการห้าม 3 บริษัทของสหรัฐฯ นำเข้า – ส่งออก, ลงทุน, ค้าอาวุธ กับจีน ได้แก่ 1. General Atomics Aeronautical Systems 2. General Dynamics Land Systems 3. Boeing Defense, Space & Security นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเหล่านี้ถูกห้ามไม่ให้เข้าประเทศจีน ในขณะที่ใบอนุญาตทำงานของพวกเขาจะถูกเพิกถอน รวมถึงสถานะผู้มาเยือนและผู้พำนัก ส่วนคำขอต่าง ๆ ที่พวกเขายื่นก็จะไม่ได้รับการอนุมัติด้วย และก็ได้มีการสอบสวนการทุ่มตลาดพลาสติกพอลิเมอร์ออกซิเมทิลีน (POM) ซึ่งเป็นพลาสติกวิศวกรรมชนิดหนึ่งที่นำเข้าจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ใต้หวัน ซึ่งเป็นพลาสติกที่สามารถใช้แทนโลหะบางประเภทได้ เช่น นอกจากนี้ยังมีการเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าเครื่องยนต์ขนาดใหญ่จาก ร้อยละ 15 สู่ร้อยละ 25 ซึ่งยังอยู่ในกฎขององค์การการค้าโลกหรือ WTO ซึ่งปีที่แล้วจีนได้มีการนำเข้าเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ประมาณ 250,000 คันซึ่งถ้าภาษีนี้ถูกปรับใช้กับทุกประเทศก็จะกระทบบริษัท Mercedes-Benz BMW และ Toyota motor

5. ผลกระทบสงครามการค้าและนัยยะทางเศรษฐกิจ

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

                ตามรายงานของ International Trade Council (2567) สงครามการค้าสามารถทำให้ราคาสินค้าต่างเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องปรับราคาขายปลีกให้สูงขึ้น ผู้บริโภคจึงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ห่วงโซ่อุปทานขาดช่วงเนื่องจากการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกัน ทำให้ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกเกิดการหยุดชะงัก บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนแหล่งวัตถุดิบและเส้นทางการผลิตใหม่ ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้า และการที่ต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ความไม่แน่นอนและต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศชะลอตัวลง โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการค้ากับจีนและสหรัฐฯ นอกจากนี้ บริษัทต่าง ๆ ไม่แน่ใจว่านโยบายทางการค้าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ทำให้ลังเลที่จะลงทุนในโครงการใหม่ ๆ หรือขยายกิจการ เกิดความกังวลต่อนักธุรกิจทั่วโลก สงครามการค้าทำให้การแข่งขันในตลาดรุนแรงขึ้น บริษัทต่าง ๆ ต้องหาทางลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อเอาตัวรอด ประเทศกำลังพัฒนาที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าไปยังจีนและสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

                อย่างไรก็ดีสงครามการค้าครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลเสียเพียงอย่างเดียว แต่ก็มีผลดีอีกด้วย จากงานวิจัยที่เขียนโดย Michael Totty เรื่อง Higher demand from U.S. and China means expanding into new markets ได้ระบุว่า เนื่องจากทั้งสหรัฐฯ และจีนมีความจำเป็นที่ต้องหาสินค้านำเข้าจากประเทศ อื่นเพื่อทดแทนเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีที่มีการปรับขึ้น ทำให้มีประเทศคู่ค้าใหม่ ๆ มากขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศในอาเซียน และมีบริษัทมากมากยจากจีนมาลงทุนในประเทศต่าง ๆเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีจากสหรัฐฯ

                สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ มีผลกระทบที่กว้างขวางและซับซ้อนต่อเศรษฐกิจโลก โดยส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ภาคอุตสาหกรรม ประเทศกำลังพัฒนา และระบบการเงินโลก หากสงครามการค้ายืดเยื้อ อาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก การแก้ไขปัญหาสงครามการค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจโลก

ภาพที่ 3: ผลดีและผลเสียของสงครามการค้า

ผลกระทบสงครามการค้าต่อเศรษฐกิจอาเซียนและไทย

หลังจากที่สหรัฐฯ ได้มีมาตรการกีดกันทางการค้ากับจีน ส่งผลให้ทั้งสองชาติเริ่มทำการค้ากันน้อยลงแต่ในทางกลับกันทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นมากขึ้น เพื่อลดลงการพึ่งพาอาศัยกัน โดยสหรัฐฯ พยายามหาประเทศคู่ค้าใหม่ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่เป็นคู่แข่งกับจีน หรือประเทศที่อยู่ใกล้กันกับสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน จีนก็ดำเนินการคล้ายกันกับสหรัฐฯ โดยประเทศในกลุ่มอาเซียนได้รับประโยชน์จากสถานการณ์นี้ และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น ภายหลังจากมีสงครามการค้า ประเทศไทยส่งออกไปสหรัฐฯ มากขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนที่จะมีสงครามการค้า เพราะประเทศไทยสามารถแข่งขันได้มากขึ้น โดยเฉพาะกับสินค้าจีนที่โดนขึ้นภาษี กลุ่มสินค้าที่ประเทศไทยส่งออกให้สหรัฐฯ มากขึ้นหลังจากมีสงครามการค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนยานยนต์ แต่ในทางกลับกันประเทศไทยกลับนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนมากขึ้น เนื่องจากการที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจากจีน ทำให้บริษัทในไทยหันมาสั่งซื้อสินค้าจากจีนมากขึ้นเพื่อลดต้นทุน

ภาพที่ 4: ไทยส่งสินค้าออกไปสหรัฐฯ เทียบกับไทยนำเข้าสินค้าจากจีน

ที่มา: Trading Economics, United States Census Bureau คำนวณโดยผู้เขียน

ในช่วงก่อนจะมีสงครามการค้า สหรัฐฯ นำเข้าสินค้ากลุ่มเซมิคอนดักเตอร์และส่วนประกอบจากประเทศในกลุ่มอาเซียนอยู่ที่ร้อยละ 25.4 แต่หลังจากมีสงครามการค้า สหรัฐฯ นำเข้าสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้นเกือบสองเท่า เป็นร้อยละ 46.11 กลุ่มโทรศัพท์และชิ้นส่วนของโทรศัพท์ก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากร้อยละ 9.02 เป็นร้อยละ 21.8 นอกจากนี้ สัดส่วนสินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยก็เพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน จากที่ก่อนสงครามการค้าสหรัฐฯ นำเข้าเซมิคอนดักเตอร์จากไทยอยู่ที่ร้อยละ 2.1 แต่เมื่อเกิดสงครามการค้าขึ้นสหรัฐฯ เริ่มนำเข้าเซมิคอนดักเตอร์จากไทยมากขึ้นถึง 6 เท่าอยู่ที่ร้อยละ 12.56 ส่วนแผงวงจรรวมสหรัฐฯ ก็นำเข้าเพิ่มจากไทยจากร้อยละ 2.51 เป็นร้อยละ 4.33

แต่ในทางกลับกันกลุ่มสินค้าประเภทเดียวกันนี้ ประเทศไทยก็มีการนำเข้าจากประเทศจีนเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกันเช่น เซมิคอนดักเตอร์และส่วนประกอบมีสัดส่วนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า จากร้อยละ 2.93 เป็นร้อยละ 8.59 ส่วนเครื่องปปรับอากาศจากร้อยละ 4.37 เป็นร้อยละ 13.83 โทรศัพท์ – ชิ้นส่วน จากร้อยละ 10.99 เป็นร้อยละ 12.68 เมื่อพิจารณาการขาดดุลหรือการเกินดุลที่มีการค้ากับทั้ง 2 ประเทศ ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่จะเกินดุลสหรัฐฯ และขาดดุลกับจีนมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่มีสงครามการค้า

สินค้าไทยที่โดดเด่นส่งออกไปให้สหรัฐฯ มีมูลค่าเพิ่มอย่างมหาศาลเช่น กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า – อิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 720 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกถึง 5,050 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 600% กลุ่มสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ ในปี 2556 มีมูลาค่าการส่งออก 434 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกถึง 1,423 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 277 กลุ่มสินค้ายาง ในปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 1,973 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกถึง 4,589 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 132 สาเหตุสำคัญที่สินค้าเหล่านี้ส่งออกจากประเทศไทยไปสหรัฐฯ ได้ดีขึ้น อาจเป็นการทดแทนสินค้าที่ไม่สามารถนำเข้าจากจีนได้ และบริษัทในประเทศจีนมาตั้งบริษัทในไทย เพื่อส่งออกให้สหรัฐฯ ทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากอานิสงค์ของสงครามการค้าครั้งนี้b

ตารางที่ 3: สินค้าไทยส่งออกโดดเด่น (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ภาพประกอบประเภท25562566อัตราการเติบโต
Home Appliances อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ & เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน - DeeDee  Baby Shop Thailand : Inspired by LnwShop.comเครื่องไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์  7205,050600%
ทัพชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่นบุกไทย 200โรงงาน4พันล.-ผุดวันสต็อปเซอร์วิสรองรับ  ชิ้นส่วนยานยนต์4341,423227%
ผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติผลิตภัณฑ์ยาง1,9734,589132%
ที่มา: สรท., TNN รวบรวมโดยผู้เขียน

เวียดนาม ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และกัมพูชา มีมูลค่าเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ และขาดดุลการค้ากับจีนทั้งหมด เวียดนามขาดดุลการค้ากับจีน 59,973 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 94,982 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยขาดดุลการค้ากับจีน 37,305 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 27,992 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สหรัฐ มาเลเซียขาดดุลการค้ากับจีน 14,584 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 26,832 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อินโดนีเซียขาดดุลการค้ากับจีน 8,803 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 16,960 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กัมพูชาขาดดุลการค้ากับจีน 4,802 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 11,281 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กับรูไนขาดดุลการค้ากับจีน 73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 259 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีเพียงประเทศสิงคโปร์ที่ขาดดุลการค้าทั้งกับสหรัฐฯ และจีนโดยขาดดุลการค้ากับจีน 4,544 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขาดดุลการค้ากับสหรัฐฯ 1,522 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตารางที่ 4: การค้าอาเซียนกับสหรัฐฯ – จีน ในปี 2566 (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ประเทศขาดดุลจีนเกินดุล(ขาดดุล) สหรัฐฯ
เวียดนาม59,97394,982
ไทย37,30527,992
มาเลเซีย14,58426,832
อินโดนีเซีย8,80316,960
กัมพูชา4,80211,281
สิงคโปร์4,544(1,522)
บรูไน73259
ที่มา: United States Census Bureau, สศช., Trading Economics รวบรวมโดยผู้เขียน

ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่าทั้งเวียดนามและมาเลเซียจะได้ประโยชน์จากสถานการณ์เบี่ยงเบนทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน มากกว่าประเทศไทย ในวิกฤตสงครามการค้าครั้งนี้ก็มีโอกาสซ่อนอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในอาเซียน เนื่องจากสินค้าจากจีนมีราคาที่สูงขึ้นเนื่องด้วยมาตราการกีดกันทางการค้า จึงหันมานำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียนแทน แต่ในขณะเดียวกันบางกลุ่มสินค้า ที่ไทยและอาเซียนได้รับประโยชน์แต่อาเซียนจะได้รับประโยชน์มากกว่าไทย เช่นกลุ่มโทรศัพท์และชิ้นส่วน เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ และหม้อแปลงไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีกลุ่มสินค้าที่อาเซียนได้ประโยชน์มากขึ้น แต่ไทยกลับได้ประโยชน์น้อยลง เช่น ยางนอกชนิดอัดลม

ถึงแม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่เกินดุลกับสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง แต่ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีการขาดดุลการค้ากับจีนมากเป็นอันดับต้น ๆ ในอาเซียน เนื่องจากสินค้าที่ไทยมีการเกินดุลกับจีนจะเป็นพวกกลุ่มสินค้าเกษตร ที่มีมูลค่าอาจไม่มากเท่าไหร่ ขณะที่สินค้าที่ประเทศไทยมีการขาดดุลกับจีน จะเป็นพวกกลุ่มสินค้าที่ความซับซ้อนและมีมูลค่าสูง

บทสรุป

บทความนี้ ชี้ให้เห็นถึงความเป็นมาของสงครามทางการค้า และความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน เริ่มตั้งแต่สมัยของ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในช่วงปี 2561 ที่ได้มีมาตราการขึ้นภาษีนำเข้าในครั้งแรก แม้ช่วงแรกของการปรับภาษีขึ้นครั้งนี้ไม่มีการระบุว่าสหรัฐฯ มุ่งเป้าไปที่ประเทศใด แต่ในท้ายที่สุดก็ชัดเจนว่าสหรัฐฯ มุ่งเป้าไปที่จีน เนื่องจากสหรัฐฯ นั้นขาดดุลกับจีนมากจนทำลายสถิติสูงสุดในปี 2561 ทั้งสองประเทศได้มีการตอบโต้กันไปมา จนทำให้สหรัฐฯ เริ่มขาดดุลการค้ากับจีน น้อยลงเรื่อย ๆ แต่ในทางกลับกันความตึงเครียดของสองประเทศนี้ กลับไม่ลดลงเลย

ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ทางการค้าของสหรัฐฯ และจีนแย่ลงเรื่อย ๆ สาเหตุมาจากทางสหรัฐฯ ได้มีการขึ้นภาษีนำเข้ารอบใหม่ กับจีน มูลค่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 14พฤษภาคม ปี 2567 ได้มีการขึ้นภาษีหลายกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) จาก ร้อยละ 25 เป็น ร้อยละ 100 ถือเป็นสินค้าที่มีการปรับภาษีขึ้นมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ได้มีการนำเข้ารถยนต์ของจีนเพียง ร้อยละ 1 ถึง 2 เท่านั้น นักวิเคราะห์บางส่วนจึงได้วิเคราะห์ การขึ้นภาษีครั้งนี้ว่าเป็นประเด็นทางด้านการเมือง

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย สงครามการค้าทำให้ราคาสินค้าต่าง ๆ แพงขึ้น และเงินเฟ้อทั่วโลกเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้นเกิดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สร้างความไม่แน่นอนให้กับนักลงทุนและผู้ประกอบการทั่วโลก ส่งผลให้การลงทุนชะลอตัว และการค้าโลกหดตัว อย่างไรก็ตาม สงครามการค้าในครั้งนี้ก็ทำให้มีบริษัทจำนวนมากจากจีนมาลงทุนในประเทศต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีจากสหรัฐฯ

สงครามการค้าครั้งนี้มีส่งผลกระทบทั้งทางบวกและลบต่อประเทศไทย ในส่วนของผลกระทบทางบวกสินค้าที่สหรัฐฯ ตั้งกำแพงภาษีกับจีน ทำให้จีนส่งออกไปให้สหรัฐฯ ได้ยากมากขึ้น ทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก โซล่าเซลล์ เซมิคอนดักเตอร์ ประเทศไทยสามารถนำเข้าสินค้าเหล่านี้จากจีนในราคาถูกมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับประเทศจีนมากยิ่งขึ้น และการที่จีนมาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม อาจโดนสหรัฐฯ ขึ้นภาษีถ้ามีประเทศจีนเป็นผู้ผลิต

โดยสรุป สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่เพียง 2 ประเทศ แต่ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศทั่วโลก ผลกระทบในครั้งนี้ก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสียเพียงอย่างเดียวมี แต่ก็มีโอกาสเข้ามาด้วยเช่นกัน ประเทศไทยควรวางตัวในสงครามการค้าครั้งนี้ให้เหมาะสม เพราะจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก หากประเทศไทยเลือกข้างใดข้างหนึ่ง เพราะไทยมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีกับทั้งจีน และสหรัฐฯ การเลือกข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์กับอีกฝ่ายหนึ่ง และส่งผลต่อการค้าของไทย อีกทั้งเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก การเลือกข้างในสงครามการค้าครั้งนี้อาจทำให้ไทย สูญเสียตลาดส่งออกที่สำคัญ

บรรณานุกรม

ภาษาไทย

เฟิ้ง เฉ่ายิ๋ง. 2563. สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน : เกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา. เข้าถึงได้จาก: https://www.bbc.com/thai/international-51118450 15 มกราคม 2563

วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์. 2567. สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน: พลวัตรต่อการค้าการลงทุน. เข้าถึงได้จาก: https://fpri.or.th/ 22 กุมภาพันธ์ 2567

ภาษาอังกฤษ

Anshu Siripurapu and Noah Berman. 2567. The Contentious U.S.-China Trade Relationship. Available from: https://www.china-briefing.com/news/the-us-china-trade-war-a-timeline. 14 May 2567

David ShepardsonและDavid Lawder. 2567. What are Biden’s new tariffs on China goods?. Available from: https://www.reuters.com/world/what-are-bidens-new-tariffs-china-goods-2024-05-14/.  14 May 2567

Dorcas Wong และ Alexander Chipman Koty. 2563. The US-China Trade War: A Timeline . Available from: https://www.china-briefing.com/news/the-us-china-trade-war-a-timeline. 25 September 2563

International Trade Councill. 2567. Effects of Trade Wars on Global Economy and International Trade. Available from: https://tradecouncil.org/effects-of-trade-wars-on-global-economy-and-international-trade/.14 May 2567

Michael Totty. 2567. Higher demand from U.S. and China means expanding into new markets. Available from: https://anderson-review.ucla.edu/in-u-s-china-trade-war-bystander-countries-increase-exports/.  23 August 2566

Money Buffalo. (30 July 2562). จุดเริ่มต้นสงครามการค้า อเมริกา vs จีน [วีดีโอ]. ยูทูบ. Available from https://www.youtube.com/watch?v=YYRBZSxyV3I

The White House. 2567. FACT SHEET: President Biden Takes Action to Protect American Workers and Businesses from China’s Unfair Trade Practices. Available from: https://www.whitehouse.gov/briefing-room/statements-releases/2024/05/14/fact-sheet-president-biden-takes-action-to-protect-american-workers-and-businesses-from-chinas-unfair-trade-practices/ 14 May 2567

TNN. (2 June 2567). “สงครามการค้า” ปะทุ! ใครได้ประโยชน์สูงสุด  [วีดีโอ]. ยู Available from https://www.youtube.com/watch?v=Jv-qGe3GaKk&t=1089s 

TNN. (2 June 2567). “สหรัฐฯ-จีน” ขัดแย้งกันใครได้ประโยชน์? เร่งตั้งรับสงครามการค้า!  [วีดีโอ]. ยูทูบ. Available from https://www.youtube.com/watch?v=Jv-qGe3GaKk&t=1089s 

TNN. (26 February 2567). ไทยได้อานิสงส์สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ  [วีดีโอ]. ยูทูบ. เข้าถึงได้ Available from https://www.youtube.com/watch?v=iEWDYYaur7k

TNN. (29 May 2567). “สหรัฐฯ-จีน” สงครามการค้า “จีน-สหรัฐฯ” ลากยาว  [วีดีโอ]. ยูทูบ. Available from https://www.youtube.com/watch?v=TvuyJT5kkWM&t=664s

United States Census Bureau. 2567. Trade in Goods with Brunei. Available from: https://www.census.gov/foreign-trade/balance/c5610.html.  (n.d.)

United States Census Bureau. 2567. Trade in Goods with Cambodia. Available from: https://www.census.gov/foreign-trade/balance/c5550.html.  (n.d.)

United States Census Bureau. 2567. Trade in Goods with China. Available from: https://www.china-briefing.com/news/the-us-china-trade-war-a-timeline.  (n.d.)

United States Census Bureau. 2567. Trade in Goods with Indonesia. เข้าถึงได้จาก: https://www.census.gov/foreign-trade/balance/c5600.html.  (n.d.)

United States Census Bureau. 2567. Trade in Goods with Philippines. Available from: https://www.census.gov/foreign-trade/balance/c5650.html.  (n.d.)

United States Census Bureau. 2567. Trade in Goods with Singapore. Available from: https://www.census.gov/foreign-trade/balance/c5590.html.  (n.d.)

United States Census Bureau. 2567. Trade in Goods with Thailand. Available from: https://www.census.gov/foreign-trade/balance/c5490.html.  (n.d.)

United States Census Bureau. 2567. Trade in Goods with Vietnam. Available from: https://www.census.gov/foreign-trade/balance/c5520.html.  (n.d.)

Wealth Me UP. (26 September 2562). Timeline 414 วันสงครามการค้า US-CH [วีดีโอ]. ยูทูบ. Available from https://www.youtube.com/watch?v=0yLqPVc96Ps&t=2s

นายชินภัทร ตั้งหะรัฐ
นักศึกษาฝึกงาน