อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคและความเหลื่อมล้ำของไทย
การกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจในระยะ 20 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มที่ดีทำให้เกิดความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นเห็นได้จากการเติบโตของผลิตภัณฑ์จังหวัดที่มีการไล่ตามกันระหว่างกลุ่มจังหวัดที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดต่ำแต่มีการเติบโตที่สูงในขณะที่มีบางกลุ่มจังหวัดที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดสูงแต่มีอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่า อีกทั้งยังเห็นได้ว่าการเติบโตของแต่ละจังหวัดมีความสัมพันธ์กับจังหวัดที่อยู่ข้างเคียงอย่างค่อนข้างมีนัยสำคัญทำให้การเติบโตของจังหวัดต่างๆ มีแนวโน้มที่จะเติบโตเกาะกลุ่มไปด้วยกัน
ฟิลิปปินส์มีการหาตัวผู้มีรายได้น้อยอย่างไร
Listahanan ได้รับการยกย่องจาก ธนาคารโลก ว่าเป็น “ตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดี” สำหรับประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการจะการลงทะเบียนดังกล่าว โดย Listahanan สามารถช่วยรัฐบาลสามารถกำหนดเป้าหมายโครงการต่าง ๆ ให้กับคนยากจนและกลุ่มเปราะบางอย่างถูกฝาถูกตัว โดยการบอกว่าครอบครัวที่ยากจนเป็นใครและอาศัยอยู่ที่ไหน ช่วยให้สามารถเลือกผู้รับผลประโยชน์จากโครงการของรัฐบาลได้อย่างเป็นกลางโดยใช้เกณฑ์ที่โปร่งใส เป็นกลาง และตรวจสอบได้ ซึ่งได้รับการตรวจสอบโดยชุมชน เพื่อประเมินความยากจนในครอบครัวชาวฟิลิปปินส์ (Dr. Mara Warwick, World Bank, 2015)
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมและการเติบโตของประเทศเวียดนาม
เมื่อพิจารณาด้วย Network Analysis จะเห็นได้ว่า ในปี ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามและเป็นอุตสาหกรรมหลักของการผลิตและความเชื่อมโยงระหว่างภาคผลิต ประกอบด้วยอุตสาหกรรมเบา เช่น กระดาษ, แร่อโลหะ และอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไป ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ประเทศเวียดนามได้ใช้การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเป็นกลไกหลักในการผลักดันเศรษฐกิจ ทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของเวียดนามเปลี่ยนไป ซึ่งในปี ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) ผลจาก Network Analysis แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมหลักประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมปิโตรเลียม, อุตสาหกรรมเคมี, อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ และภาคการค้าปลีก-ค้าส่ง
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณากลุ่มอุตสาหกรรมนี้ร่วมกับค่า Backward และ Forward Multiplier พบว่า สาขาการผลิตเหล่านี้มีค่า Backward และ Forward Multiplier ที่เพิ่มขึ้นสูงสุด สะท้อนถึงสะท้อนถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมดังกล่าวในเศรษฐกิจเวียดนาม ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้จะไม่ใช่อุตสาหกรรมส่งออกหลักของประเทศเวียดนาม แต่ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ด้วยทั้ง 2 วิธีการ ได้ชี้ให้เห็นชัดเจนถึงการเป็นสาขาอุตสาหกรรมพื้นฐานที่ผลิตสินค้าต้นน้ำและเป็นโครงสร้างหลักของประเทศ
การพัฒนากลไกความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันภายใต้ IMT-GT
น้ำมันปาล์ม (Palm Oil) เป็นน้ำมันพืชที่มีผลิตภาพสูงและต้นทุนต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันพืชประเภทอื่นจนได้สมญานามว่า “เครื่องผลิตน้ำมันธรรมชาติ (Natural oil machine)” น้ำมันปาล์มเป็นผลผลิตที่เกิดจากทะลายปาล์มสด (Fresh Fruit Bunches; FFB) อันเป็นผลของต้นปาล์มน้ำมัน (Oil Palm) เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพน้ำมันปาล์มที่สกัดได้ ผลทะลายปาล์มสดที่ตัดออกจากต้นต้องเข้าโรงงานสกัดภายใน 48 ชั่วโมง
การประยุต์ใช้แนวคิด BCG ในการดำเนินธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความนี้จะพาผู้อ่านไปติดตามความเป็นมาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศต่างให้ความสำคัญ ทั้งนี้ คำนิยามของ BCG (Bio-Circular-Green Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวแล้วหรือยัง?
การท่องเที่ยวถือเป็นเครื่องยนต์หลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยในปี 2562 รายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 3.0 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 17.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ในช่วงต้นปี 2563 การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกมีการออกมาตรการจำกัดการเดินทาง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2563 หดตัวลงถึงร้อยละ -6.2 ต่อปี
STAR ระบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงรุก เพื่อสร้างกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจ
งานศึกษานี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างระบบการติดตามข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจ เพื่อนำมาประมวลผลด้วยวิทยาการสมัยใหม่ที่สามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้ด้วยความรวดเร็ว โดยมีกระบวนการ Training Model ให้มีการเรียนรู้ข้อมูลและทำนายกลุ่มข้อมูลที่เรียนรู้เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูล อีกทั้งยังผสมผสานด้วยกระบวนการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคำต่าง ๆ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้วนำมาจัดทำเป็น Policy Dashboard แล้วนำมาประยุกต์เป็นตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Indicator) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงรุกในด้านนโยบายต่าง ๆ อย่าง “ตรงจุด ตรงประเด็น และตรงเวลา”
การพัฒนาตลาดพันธบัตรสีเขียว (Green Bond) เพื่อส่งเสริมโครงการด้านการแก้ไขปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
Green Bond เป็นเครื่องมือสำคัญในการระดมทุนเพื่อดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยตลาด Green Bond มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากแรงผลักดันทางนโยบายที่เกี่ยวข้องและความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อมของนักลงทุน ในขณะเดียวกัน Green Bond ยังคงมีอุปสรรคและความท้าทายในการพัฒนาตลาด ซึ่งการให้ผู้กำหนดนโยบายเข้ามามีบทบาท รวมถึงการจัดทำหลักเกณฑ์ Green Bond ให้เป็นมาตรฐาน และเปิดโอกาสให้ผู้ออก Green Bond รายเล็กสามารถเข้าถึงตลาด Green Bond ได้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาตลาด Green Bond อย่างมาก
การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยผ่านภาษีหลุมฝังกลบ
(Landfill Tax)
การกำจัดขยะมูลฝอยด้วยการฝังกลบส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในหลายด้าน ดังนั้น นานาประเทศจึงเลือกใช้มาตรการจัดเก็บภาษีหลุมฝังกลบในการบรรเทาปัญหาดังกล่าวข้างต้น สำหรับประเทศไทยแม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บภาษีหลุมฝังกลบบางประการ แต่หากปรับปรุงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยทั้งระบบให้ดีขึ้น การจัดเก็บภาษีดังกล่าวอาจเหมาะสมที่จะเป็นนวัตกรรมเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยในอนาคตได้
เปิดโลก InsurTech…ธุรกิจประกันภัยในยุคดิจิทัล
ธุรกิจประกันภัยได้ก้าวเข้าสู่ยุค Digital Transformation และผู้ประกอบการเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ทำให้เป็นประโยชน์และสะดวกต่อการเข้าถึงของลูกค้า ทั้งในด้านการเลือกซื้อบริการประกันภัย การพิจารณารับประกันภัย การแจ้งเคลม และการคืนเบี้ยประกัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เราจึงเริ่มได้ยินคำว่า “InsurTech” กันมากขึ้น