Author Archives: Editor Team

ดร. พรชัย ฐีระเวช

การศึกษาเศรษฐกิจต่างมณฑลนอกเหนือจากกรุงเทพฯ พบว่ามีหลักฐานที่ให้รายละเอียดบันทึกสภาพความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของราษฎรต่างมณฑลน้อยมาก ฉะนั้นกรณีศึกษามณฑลพายัพได้รับคุณูปการจากบันทึกของข้าหลวงธรรมการ ที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ เพื่อตรวจสอบวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในด้าน “พาณิชยกรรมและหัตถกรรม” ในช่วงต้นรัชกาลที่ 6 จะสังเกตได้ว่าวิถีชีวิตส่วนใหญ่ของราษฎรมณฑลพายัพ ยังคงมีระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ และการสร้างรายได้จำกัดอยู่ในระดับครัวเรือน ส่งผลให้วิถีการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกมีไม่มากนัก ขณะเดียวกันตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 นโยบายของรัฐบาลมุ่งเน้นให้เกิดการขยายฐานเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก

ผลการศึกษา พบว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้ง 4 ด้าน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ GDP ในทุกสาขาการผลิตเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 231,476 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นผลกระทบต่อ GDP ร้อยละ 1.23 ต่อปี ในขณะที่การลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ GDP ในทุกสาขาการผลิตเฉลี่ยสูงสุดถึง 145,607 ล้านบาท ต่อปี คิดเป็นผลกระทบต่อ GDP เท่ากับร้อยละ 0.77 ต่อปี

ผู้เขียนได้ใช้โอกาส หลังสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Columbia เข้าฝึกงานกับ “องค์การสหประชาชาติ” (United Nations : UN) ณ กรุงนิวยอร์ก เป็นเวลาราวสองเดือนเศษ ก่อนเดินทางกลับมาชดใช้ทุนหลวงในประเทศไทย

เป็นหนึ่งในมาตรการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 มีงบประมาณรวม 2.86 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเงินให้เปล่า (grant) เพื่อช่วยเหลือร้านอาหาร บาร์ รถขายอาหาร และธุรกิจที่ให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดนให้ความสำคัญกับธุรกิจร้านอาหารเนื่องจากชาวอเมริกันส่วนใหญ่เริ่มทำงานครั้งแรกในร้านอาหารเป็นส่วนใหญ่

โครงการย่านแห่งโอกาส หรือ Opportunity Zones (OZ) ของประเทศสหรัฐฯ เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ภายใต้กฎหมาย Tax Cuts and Job Act 2017 เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยส่งเสริมให้เงินทุนระยะยาวไหลเข้าสู่ชุมชนที่มีรายได้ต่ำทั่วสหรัฐฯ เพื่อทำให้เกิดการสร้างงาน การขยายตัวของเศรษฐกิจ และลดความยากจนในพื้นที่ด้อยโอกาส โดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนลงทุนใน Qualify Opportunity Fund (QOF) เพื่อลงทุนใน OZ

การวิเคราะห์และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินมาตรการ/โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลภายใต้งบประมาณของประเทศที่มีจำกัด ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในการแสดงถึงความคุ้มค่าของงบประมาณหรือเงินกู้ที่รัฐบาลใช้ไป จากความก้าวหน้าและการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิตอลของโลกยุค 4.0 ที่ทำให้รัฐบาลได้กำหนดเงื่อนไขการใช้เงินผ่านแฟลตฟอร์มมือถือในหลาย ๆ โครงการในช่วงวิกฤต COVID-19 ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยลดการจับต้องวัตถุที่อาจเป็นสาเหตุในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสแล้ว ยังทำให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ศึกษาและประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

การหยิบยื่นมาตรการทางการคลังเพื่อเป็นตาข่ายแห่งความปลอดภัยทางเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Safety Nets) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่รัฐบาลทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญในการเยียวยาช่วยเหลือประชาชนให้มีหลักประกันทางสังคมและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพท่ามกลางรายได้ที่ลดลงในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

มูลเหตุสำคัญของการดำเนินการปฏิรูปการใช้ธนบัตร ล้วนเกี่ยวข้องกับบริบทการเข้ามาของระบอบอาณานิคมในประเทศสยาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบอบอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งมีอาณานิคมส่วนใหญ่ขนาบพื้นที่ด้านตะวันตกของประเทศสยาม ตั้งแต่ในพม่าและจรดแหลมมลายู

Decentralized Finance เรียกย่อๆ ว่า DeFi (ดีไฟ) เป็นเหมือนโลกอีกใบ แม้จะมีพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์และการเงินอยู่บ้าง แต่โลกใบใหม่นี้มีกฎเกณฑ์หลายอย่างซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากโลกเก่า เป็นดินแดนที่เรียกได้ว่ายังไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว (Unsettled) วิวัฒน์ (Evolve) และถูกท้าทายจนต้องปรับตัว (Disrupt) อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้ามาใหม่ได้ทั้งตักตวงผลประโยชน์ และเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ที่ตัวเองเห็นสมควร เข้าทำนองยิ่งความเสี่ยงสูงก็ยิ่งได้ผลตอบแทนสูง (High Risk High Return) ซึ่งก็ต้องมาดูว่าจะมีคนในวงการเดิมเห็นด้วยมากน้อยอย่างไร

140/215