ชีวิตนักเรียนทุนไทย UK ใน State Quarantine

ชีวิตนักเรียนทุนไทย UK ใน State Quarantine

บทความโดย วณัช บัณฑิตาโสภณ
เรียบเรียงโดย ทีมบรรณาธิการ

วิกฤต Covid-19 เป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิด การใช้ชีวิตในต่างแดน ไม่ว่าจะใกล้ มีเวลาห่างกันไม่กี่ชั่วโมง หรืออยู่คนละซีกโลกที่เวลาห่างกันกว่าหลายสิบชั่วโมง ความรู้สึกคิดถึงบ้านและคนที่ตัวเองรักนั้นไม่ต่างกันเลย แต่พอเกิดสถานการณ์โรคระบาดขึ้นความรู้สึกดังกล่าว จึงก่อตัวเพิ่มเป็นเท่าทวี ในฐานะนักเรียนทุนการกลับบ้านไม่ได้ในช่วงแรกเป็นเรื่องน่าใจหาย แต่เมื่อสิ่งต่างๆ คลี่คลายและสามารถกลับบ้านได้ เราก็เก็บทุกอย่างเป็นประสบการณ์ เก็บกระเป๋า เก็บความทรงจำแล้วพามันขึ้นเครื่องกลับประเทศไทย แล้วเตรียมพร้อม เตรียมตัว กับสิ่งต่างๆ ที่ต้องดำเนินการ

1. Everything goes online เมื่อทุกอย่างทำผ่านออนไลน์

ทำไมถึงเพิ่งกลับมาจากอังกฤษ เรียกได้ว่าวิกฤตการณ์โควิดเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือถ้าเกิดก็เป็นวิกฤตในรอบ 100 ปี ไม่มีใครคาดว่าน่านฟ้าจะปิด การเดินทางระหว่างประเทศถูกจำกัดและผู้โดยสารต้องใช้เอกสารรับรองจากสถานทูตกับ Fit2Fly เพื่อรับประกันในเบื้องต้นว่าไม่เป็นพาหะของโรคระบาด ประเทศไทยประกาศปิดน่านฟ้าตั้งแต่ 1 เม.ย. จนถึงปัจจุบัน แต่พอรัฐบาลควบคุมสถานการณ์ได้จึงเริ่มดำเนินการพาคนไทยกลับบ้าน หลังจากอังกฤษกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรคเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

Tower Bridge UK

คนไทยในอังกฤษที่อยากกลับบ้านมีจำนวนมาก สถานทูตดำเนินการให้มีการลงทะเบียนผู้ที่ต้องการจะเดินทางกลับรอบแรกจำนวน 250 คน แม้จะไม่ครอบคลุมผู้ที่ต้องการจะกลับทั้งหมดในทีเดียวแต่ต้องไม่ลืมว่ามีอีกหลายประเทศที่มีความเสี่ยงไม่ต่างกัน อีกทั้งสถานที่รองรับการกักตัวหลังจากเข้าประเทศไทยมาแล้วมีจำกัด ทั้งนี้เที่ยวบิน

เที่ยวแรกที่พาคนไทยในอังกฤษกลับบ้านคือวันที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมาซึ่งหากลงทะเบียนสำเร็จ (ด้วยวิธีการ First come, first serve) ทางสถานทูตจะเป็นคนบริการทั้งเอกสารรับรองฯและ Fit2Fly ให้

ภาพมหาวิทยาลัยในอังกฤษ

สำหรับนักเรียนไทยในอังกฤษ หลังจากเกิดโรคระบาด การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย การสอบปลายภาคและการทำวิยานิพนธ์ล้วนสามารถทำทางออนไลน์ได้ อีกทั้ง Facility ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยที่เคยใช้ได้ เช่นห้องสมุดหรือห้องคอมพิวเตอร์นั้นปิดอย่างไม่มีกำหนด (Until further notice) หากไม่มีภาระผูกพันอะไรแล้วต้องการกลับไทย การเดินทางกลับไทยให้เร็วที่สุดจึงเป็นทางเลือกที่ดีและปลอดภัยที่สุด

บรรยากาศ Social Distancing ของอังกฤษ

2. Being at home is relieved บ้านเราอุ่นใจกว่า

ตั้งแต่เกิดวิกฤต ความกลัวต่อโรคร้ายพาลให้เกิดความรังเกียจในหมู่ผู้คนด้วยกันเอง กลางเดือนมีนาคมมีข่าวนักศึกษาชาวสิงคโปร์ถูกทำร้ายย่าน Oxford Street 
แหล่งช้อปปิ้งของกรุงลอนดอน ขณะที่คนรอบตัวจำนวนมากซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคนเอเชียต่างถูก Bully ด้วยคำพูดแสดงการสบประมาทและการเลือกปฏิบัติในฐานะคนเอเชียจากความกลัวว่าเป็นต้นตอของโรคระบาดครั้งนี้

ต่อมารัฐบาลอังกฤษออกมาตรการ Herd Immunity ซึ่งสื่อเป็นนัยว่าให้ทุกคนดูแลตัวเอง หากเป็นโรคและอาการรุนแรงขึ้นจึงค่อยออกจากบ้านมาพบแพทย์ คนเอเชียหลายคนจึงกลัวว่าด้วยสถานการณ์หลายๆ อย่าง ความจำกัดของทรัพยากรทางการแพทย์ ไม่มีอะไรรับประกันได้เลยว่าหากเขาติดโรคขึ้นมาแล้วจะได้รับการรักษาอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกับคนอังกฤษ หันไปมองเอเชีย

หลายประเทศเริ่มควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว ประชาชนในประเทศในกรณีนี้นั้นมีวินัยและปกป้องตัวเองและผู้อื่นด้วยการใส่หน้ากากในที่สาธารณะมากกว่า หากมีโอกาสจึงอยากกลับบ้าน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า อยู่บ้านเราอุ่นใจกว่าจริงๆ

3. Thai team accommodated well ทีมไทยที่อังกฤษช่วยเหลือคนไทยดีมาก

หลังจากได้รับยืนยันว่าจะมีเที่ยวบินมารับคนไทยกลับบ้านในวันที่ 17 พ.ค. จริงๆ ทางสถานทูตจึงประกาศเปิดรับลงทะเบียนในวันที่ 4 พ.ค. ซึ่งเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม จึงใช้ระบบ First come first serve ในจำนวนจำกัด 250 คน

หลังจากลงทะเบียนได้เจ้าหน้าที่สถานทูตจะติดต่อกลับมาเพื่อให้ดำเนินการชำระเงินค่าตั๋วเครื่องบินเป็นการยืนยัน นัดหมายวันที่จะมาตรวจสุขภาพเบื้องต้นและรับใบรับรองของสถานทูต ซึ่งหากใครต้องการพบ Private doctor ก็สามารถทำได้และนำใบ Fit2Fly ดังกล่าวมายื่นสถานทูต

Social Distancing ณ สนามบิน Heathrow เตรียมตัวขึ้นเครื่องกลับไทย
าตรการควบคุมโรค ณ สนามบินสุวรรณภูมิ เตรียมตัวขึ้นรถไป State Quarantine

4. My state quarantine ก่อนจะเข้ากักตัว

ตั้งแต่รัฐบาลเริ่มรับคนไทยกลับบ้าน คนไทยจากประเทศต่างๆ จะถูกเวียนไปกักตัวตามที่ที่รัฐกำหนด ทั้งสัตหีบ พัทยา หรือในกรุงเทพฯ เอง ตั้งแต่ลงจากเครื่องบินขึ้นรถบัสจนถึงเข้าห้องพักต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา รักษามาตรการ Social Distancing อย่างต่อเนื่อง หลังจากถึงที่พักในกรณีของผมได้เข้าพักที่โรงแรม Jomtien Palm Beach ทางรัฐบาลจัดให้พักห้องละ 1 คน ด้วยกัน

บรรยากาศห้องพัก State Quarantine ที่โรงแรม Jomtien Palm Beach

สิ่งที่ไม่ควรทำขณะกักตัว ข้อกำหนดในการกักตัวของพัทยา
ตารางรายการอาหารตลอดการกักตัว

5. Stay at Jomtien beach ชีวิตของการกักตัวและสายลมจากทะเล

ผมมองเห็นทะเลแทบทั้งวันตั้งแต่ลืมตาตื่นและหลับตาลง ทะเลแต่ละช่วงวันมีเฉดสีแตกต่างกัน และแต่ละวันก็จะแตกต่างกันไปตามสภาพอากาศด้วย ตอนเช้าแสงแรกของวันจะสะท้อนระลอกคลื่นเป็นสีขาวแวววับ ตอนบ่ายบางห้วงขณะเงาสะท้อนจะเป็นสีเงิน แต่โดยส่วนมากเงามีเทาของเกลียวคลื่นจะแต่งเติมท้องน้ำให้ดูขรุขระเหี่ยวย่นตลอดเวลา” 

เรียกได้ว่ารัฐบาลจัดหาที่พักในการกักตัวเป็นอย่างดี รวมทั้งผู้ประกอบการโรงแรมที่สูญเสียลูกค้าจากวิกฤตฯ ก็ได้รับค่าตอบแทน ในห้องนั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันทั้งทีวี ตู้เย็นเครื่องปรับอากาศ กาน้ำร้อน น้ำอุ่น รวมทั้งข้าวของเครื่องใช้และอาหาร ประกอบด้วย สบู่ แชมพู แปรง/ยาสีฟัน มีดโกนหนวด ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้ไม่ต่างจากอยู่บ้านหรือพูดง่ายๆ ว่าเหมือนมาท่องเที่ยวเป็นเวลา 2 สัปดาห์เสียมากกว่า

บรรยากาศจากหน้าต่างห้องพัก

โรงแรมจอมเทียนบีช

สำหรับอาหารนั้นในห้องมีน้ำเปล่าขวด 2 โหล ชา กาแฟ และทิชชู โดยทางโรงแรมจะจัดส่งอาหารตามเวลาเช้า (8.00) กลางวัน (12.00) และเย็น (17.00) โดยมีเมนูระบุไว้ชัดเจนว่าตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 14 แต่ละมื้อคืออะไร หากท่านใดต้องการอาหารเพิ่มก็สามารถสั่งและจ่ายเงินกับทางโรงแรมได้

แต่มีกฎอยู่ว่าไม่สามารถสั่ง Grab หรือ Delivery จากข้างนอกได้ อย่างไรก็ตาม หากต้องการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์หรือต้องการให้ญาติ นำสิ่งของมาให้ที่โรงแรมก็ทำได้ แต่ก่อนนำขึ้นมาส่งที่ห้องเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องตรวจสอบในกล่องว่าคืออะไร

ที่โรงแรม Jomtien Palm Beach เจ้าหน้าที่ของทางโรงแรมและทีมแพทย์คอยบริการ 24 ชั่วโมง ซึ่งหากเกิดอะไรขึ้นหรืออยากมีเรื่องปรึกษาสามารถยกหูโทรศัพท์โทรไปได้ทันที นอกจากนี้ สำหรับการตรวจสุขภาพผู้ที่กักตัวจะได้รับแจกเทอร์โมมิเตอร์คนละ 1 อัน เพื่อวัดและกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ส่งทุกเช้าก่อน 9 โมงทุกวัน และสำหรับการตรวจเพื่อคัดกรองโรคจะมีสัปดาห์ละครั้งในตอนบ่ายของวันเสาร์ ซึ่ง ณ ตอนนี้มีข่าวดีเพราะยังไม่มีใครติดโรคเลยแม้แต่คนเดียว

การตรวจคัดกรองโรคหลังจากมาถึงไทยได้ 5 วัน

เข้าสู่กระบวน Covid Test

กาลเวลาผันผ่าน 14 วันผ่านไปเร็วเหมือนโกหก ก่อนวันเดินทางกลับ 1-2 วัน เจ้าหน้าที่จะสอบถามภูมิลำเนาและวิธีการที่แต่ละคนตั้งใจจะเดินทางกลับบ้าน ซึ่งมีตั้งแต่เดินทางกลับด้วยตัวเอง มีคนมารับที่โรงแรม และให้รถของทางการไปส่ง ผมเลือกตัวเลือกสุดท้าย รัฐบาลจัดรถทั้งรถบัสสองชั้นและรถตู้ไปส่งถึงภูมิลำเนาของแต่ละคน (ศาลากลางจังหวัด) โดยจัดให้ผู้เข้าพักที่บ้านอยู่ทางเดียวกันนั่งไปในรถคันเดียวกัน

ในที่สุดผมก็เดินทางถึงบ้านที่ราชบุรี เป็นการเดินทางที่ยาวนานและได้เรียนรู้เรื่องราวที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นซึ่งมันอาจจะเป็นครั้งเดียวในชีวิตเลยก็ว่าได้

วณัช บัณฑิตาโสภณ

ยากที่จะนิยามตัวเอง เป็นนักเรียนเศรษฐศาสตร์ เป็นเศรษฐกรปฏิบัติการ เป็นนักเขียนนู่นเขียนนี่
แต่ที่แน่ๆสนใจปัญหาบ้านเมืองและอยากแก้ไขโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้น