ส่องนโยบายภาษีของผู้สมัครพรรคเดโมแครตผู้เสนอเป็นตัวแทนพรรคเข้าแข่งขันตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2563

ส่องนโยบายภาษีของผู้สมัครพรรคเดโมแครตผู้เสนอเป็นตัวแทนพรรคเข้าแข่งขันตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2563

บทความโดย
สุมาลี สถิตชัยเจริญ

ผู้สมัครพรรคเดโมแครตที่ชิงเป็นตัวแทนของพรรคในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา     ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 นี้ได้หาเสียงถึงแนวทางการปรับปรุงนโยบายภาษีในการสร้างรายได้เพื่อใช้ในการดำเนินการตามนโยบายของตนในการหาเสียง ทั้งนี้ Tax Foundation องค์กรที่ไม่ได้แสวงหาประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปรียบเทียบนโยบายภาษีของผู้สมัครพรรคเดโมแครต จำนวน 4 คน ได้แก่ 1) นาย Joe Biden อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยประธานาธิบดี Barack Obama 2) นาง Elizabeth Warren วุฒิสมาชิกรัฐแมสซาชูเซทส์ 3) นาย Bernie Sanders วุฒิสมาชิกรัฐเวอร์มอนท์ ผู้ซึ่งมีอายุมากที่สุดในบรรดาผู้สมัครทั้งหมด และ 4) นาย Pete Buttigieg นายกเทศมนตรีเมือง South Bend รัฐอินเดียนา ผู้มีอายุเพียง 37 ปี และยอมรับอย่างเปิดเผยว่าเป็นเกย์ ก่อนที่นาย Joe Biden ได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา จึงเป็นที่น่าสนใจว่า พรรคเดโมแครตจะมีข้อเสนอทางนโยบายอย่างไรในการแข่งขันกับนาย Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบันที่ได้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่ง

ก่อนจะพิจารณารายละเอียดข้อเสนอด้านนโยบายภาษีของผู้สมัครพรรคเดโมแครตแต่ละท่านดังกล่าว เรามาทราบนโยบายหลักในการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละท่านซึ่งสรุปได้ตามตารางที่ 1 เพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งที่ผู้สมัครแต่ละท่านใช้เป็นจุดขายในการหาเสียงกับคนอเมริกันกันก่อน

ผู้สมัครนโยบาย
นาย Joe BidenJoe Biden
ชูนโยบายลงทุนกับชนชั้นกลางเพื่อให้แข่งขันได้ โดยใช้งบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและอนาคตจำนวน 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเวลา 10 ปี เพื่อทำให้คนชนชั้นกลางของสหรัฐฯ สามารถแข่งขันและเอาชนะในบริบทของเศรษฐกิจโลกได้ รวมทั้งการทำให้ประเทศสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) และทุกพื้นที่ในสหรัฐฯ ได้รับผลจากการเติบโตของประเทศ ภายใต้หลักการ Investing in Middle Class Competitiveness, Not Rewarding Wealth โดยเงินที่ใช้ในการดำเนินการจะมาจากการปรับปรุงนโยบายภาษี  
นาง Elizabeth Warren Elizabeth Warren ชูนโยบายการทำประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง สร้างชนชั้นกลางให้แข็งแกร่ง สร้างความเป็นธรรมภายใต้กฎหมาย ปราบการทุจริตในรัฐบาลกลาง มีนโยบายต่างประเทศเพื่อทุกคน และดูแลสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดเก็บภาษีจากคนรวย (Ultra Millionaire)
นาย Bernie SandersBernie Sandersชูนโยบายการทำให้ทุกคนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตโดยไม่คำนึงถึงรายได้ เชื้อชาติ ศาสนา และเพศ โดยประเด็นที่เน้นมีทั้งการมีที่อยู่อาศัย การดูแลผู้เกษียณอายุ การรักษาพยาบาล สิ่งแวดล้อม การศึกษา และการประกันสังคมเพื่อดูแลคนทำงาน โดยเงินที่ใช้ในการดำเนินการตามนโยบายต่างๆ มาจากการเก็บภาษีจากคนรวยเพิ่มขึ้น
นาย Pete ButtigiegPete Buttigiegเน้นความเป็นคนรุ่นใหม่ภายใต้แนวคิด “It’s time for a new generation of American Leadership” ในการแก้ไขปัญหาของประเทศในเรื่องการรักษาพยาบาล (Medicare) การสร้างประเทศเพื่อศตวรรษที่ 21 และการวางแผนเศรษฐกิจเพื่อให้ครอบครัวชาวอเมริกันกินดีอยู่ดีจากการมีงานทำ
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบนโยบายหาเสียงของผู้สมัครพรรคเดโมแครตเพื่อชิงเป็นตัวแทนของพรรคในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2563

จากตารางที่ 1 จะเห็นได้ว่านโยบายหาเสียงของผู้สมัครแต่ละท่านเน้นในการสร้างความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น สำหรับคนอเมริกันทั้งประเทศ ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้เงินในการดำเนินการจำนวนมาก ดังนั้น ผู้สมัครจะต้องชี้แจงถึงที่มาของรายได้ในการทำให้นโยบายเป็นจริงตามที่หาเสียงไว้ เช่น นาง Elizabeth เสนอแผนนโยบายเรื่องการรักษาพยาบาลสำหรับคนอเมริกันทุกคน (Medicare for All)  ซึ่งเป็นแนวทางที่จะต้องใช้เงินเพิ่มเติมถึง 20.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ  สำหรับการรักษาพยาบาลในระยะเวลา 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2563 – 2572) โดยนาง Elizabeth ได้เสนอแนวทางหารายได้เพิ่มเติมเพื่อใช้ในโครงการ Medicare for All จากการปรับปรุงการจัดเก็บภาษี รวมไปถึงเสนอให้จัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากคนรวยและบริษัทขนาดใหญ่ รวมทั้งการให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเพื่อการรักษาพยาบาล เป็นต้น

ประเทศสหรัฐฯ มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทยในด้านโครงสร้างรายได้ของรัฐบาลกลางส่วนใหญ่มาจากรายได้ภาษีถึงร้อยละ 92 (ปีงบประมาณ 2561) ทั้งนี้ แตกต่างกันที่สัดส่วนรายได้ภาษีของสหรัฐฯ มาจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถึงร้อยละ 51 และ Payroll tax[1]  ถึงร้อยละ 35 ในขณะที่ประเทศไทยรายได้รัฐบาลส่วนใหญ่มาจากภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากในประเทศสหรัฐฯ ภาษีการขาย (Sale Tax) เป็นรายได้ของมลรัฐ ดังนั้น การหารายได้เพิ่มเติมของผู้สมัครจึงพุ่งเป้าไปที่การเก็บภาษีเพิ่มเติมจากคนรวยและบริษัทขนาดใหญ่  หากพิจารณารายละเอียดนโยบายภาษีของผู้สมัครพรรคเดโมแครตเพื่อชิงเป็นตัวแทนของพรรคในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2563 นี้ว่ามีแนวทางในการปรับปรุงภาษีประเภทต่างๆ อย่างไรบ้าง ซึ่งได้สรุปรายละเอียดไว้ตามตารางที่ 2


[1] เป็นภาษีที่หักเก็บจากค่าจ้างหรือเงินเดือนของลูกจ้างโดยนายจ้างเป็นผู้นำส่ง เพื่อใช้ในระบบประกันสังคม (Social Security) และการรักษาพยาบาล (Medicare Programs) เหมือนกับเงินประกันสังคมของประเทศไทย แต่ประเทศสหรัฐฯ จัดเก็บเงินนี้โดยกรมสรรพากรสหรัฐฯ ในขณะที่ประเทศไทยมีสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดูแลจึงไม่ได้เรียกว่าภาษี


ประเภทภาษีนาย Joe Bidenนาง Elizabeth Warrenนาย Bernie Sandersนาย Pete Buttigieg
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้เพิ่มอัตราภาษีขั้นสูงสุดอีก 1 ขั้นจากร้อยละ 37 เป็นร้อยละ 39.6กลับไปใช้อัตราภาษีเดิมสำหรับผู้ที่มีรายได้สูง– จัดเก็บภาษีเพิ่มร้อยละ 4 สำหรับครัวเรือนที่มีรายได้มากกว่า 29,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี – เพิ่มช่วงอัตราภาษีโดยให้มีอัตราภาษีสูงสุดที่ร้อยละ 52 หากรายได้เกิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีเพิ่มอัตราภาษีเงินได้ของผู้ที่มีรายได้สูง (ไม่มีรายละเอียดของอัตราภาษีที่จัดเก็บ)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล– ปรับขึ้นอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 21 เป็นร้อยละ 28 – เพิ่มภาษีขั้นต่ำสำหรับบริษัทที่มีรายได้สุทธิมากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี แต่ไม่ได้จ่ายภาษีหรือเสียภาษีเพียงเล็กน้อยให้กับรัฐบาลกลาง– ปรับขึ้นอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 21 เป็นร้อยละ 35 – เพิ่มภาษีส่วนเพิ่ม (Surtax) อีกร้อยละ 7 สำหรับกำไรที่แสดงในงบการเงิน– ปรับขึ้นอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 21 เป็นร้อยละ 35 – ให้บริษัทที่มีรายได้มากกว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี เปิดเผยข้อมูลการเสียภาษี และข้อมูลรายได้ บัญชีการเงิน และการจ่ายภาษีในประเทศอื่นๆ ด้วยปรับขึ้นอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 21 เป็นร้อยละ 35
การเครดิตภาษี– ขยายการให้เครดิตภาษีและการหักลดหย่อนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทนและยกเลิกการอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil) – ขยายและเพิ่มการให้เครดิตภาษีแก่นักลงทุนที่ไปลงทุนในชุมชนที่มีรายได้ต่ำอย่างถาวร – เพิ่มเครดิตภาษีให้แก่นักลงทุนในองค์กรการพัฒนาชุมชนในทุกธุรกิจ – ให้เครดิตภาษีจำนวน 8,000 เหรียญสหรัฐฯ แก่บุคคลธรรมดาที่มีลูกอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็ก – ให้เครดิตภาษีแก่ธุรกิจขนาดเล็กที่รับ Workplace Savings Plan ที่เป็นการออมเพื่อการเกษียณอายุของลูกจ้าง – ขยายการให้ Earned Income Tax Credit (EITC)[2] แก่คนงานสูงอายุที่ปัจจุบันให้ถึงอายุ 65 ปีเท่านั้นไม่มีข้อเสนอนี้ไม่ได้มีนโยบายที่เกี่ยวกับการให้เครดิตภาษีแต่เสนอให้มีการหักค่าลดหย่อนบุคคลธรรมดาแบบเป็นรายรายการ (Itemized Deduction) และการเปลี่ยนให้ธุรกิจ Pass-through ขนาดใหญ่เสียภาษีในอัตราเดียวกับนิติบุคคลเพิ่ม EITC2 โดยเฉลี่ย 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ทุกปี
อัตราภาษี Capital Gains และเงินปันผลให้เก็บในอัตราเดียวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหากมีรายได้เกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี– เก็บภาษีร้อยละ 14.8 ของรายได้จากการลงทุนสำหรับบุคคลธรรมดาที่รายได้มากกว่า 2.5 แสนเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีและคู่สมรสมากกว่า 4 แสนเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี – เก็บภาษี Capital Gain ในอัตราเดียวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ 1 ของครัวเรือนทั้งหมด (Top Households) – เก็บภาษี Capital แบบ Mark to Market สำหรับครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ 1 ของครัวเรือนทั้งหมดให้เก็บในอัตราเดียวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหากครัวเรือนมีรายได้เกิน 2.5 แสนเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี      ไม่มีข้อเสนอนี้
ภาษีเงินได้จากต่างประเทศเพิ่มอัตราภาษี GILTI[3] เป็น 2 เท่ากำหนดภาษีขั้นต่ำ Country by Country สำหรับรายได้จากต่างประเทศ โดยให้จ่ายส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีที่จ่ายในต่างประเทศกับร้อยละ 35 และไม่ให้มีการเลื่อนจ่ายภาษีไม่มีข้อเสนอนี้ไม่มีข้อเสนอนี้
Payroll Taxesยกเลิกการจำกัดรายได้สำหรับภาษีในส่วนของการประกันสังคม (Social Security) ที่ปัจจุบันกำหนดรายได้สูงสุดในการเสียภาษีในส่วนของการประกันสังคมยกเลิกการจำกัดรายได้สำหรับภาษีในส่วนของการประกันสังคมสำหรับผู้มีรายได้เกิน 2.5 แสนเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และให้เก็บในอัตราเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.8  โดยแบ่งเป็นส่วนของลูกจ้างและนายจ้าง (ส่วนละร้อยละ 7.4)ยกเลิกการจำกัดรายได้สำหรับภาษีที่เกี่ยวกับการประกันสังคมสำหรับผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 250,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ขึ้นไปไม่มีข้อเสนอนี้
ภาษีมรดก (Estate Tax)ยกเลิกการใช้หลัก Step-up ที่ใช้ราคาตลาด ณ วันที่ผู้เสียชีวิตยกทรัพย์สินให้แก่ทายาทจึงทำให้ผู้เสียชีวิตสามารถส่งผลประโยชน์ส่วนเกิน (Capital Gain) ไปยังทายาทโดยไม่เสียภาษีเนื่องจากไม่มีราคาส่วนเกินให้มีการยกเว้นเช่นเดียวกับเมื่อปี 2552 (5.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันเพิ่มเป็น 2 เท่า) และมีการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าแทนภาษีอัตราเดียว และเพิ่มภาษีร้อยละ 10 ทุกๆพันล้านเหรียญสหรัฐกลับไปใช้โครงสร้างเมื่อปี 2552 ให้มีการยกเว้นและมีการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าไม่มีข้อเสนอนี้
ภาษีความมั่งคั่ง (Wealth Tax)ไม่มีข้อเสนอนี้เพิ่มภาษีความมั่งคั่งโดยเก็บจากครัวเรือน โดยให้จ่ายร้อยละ 2 สำหรับความมั่งคั่งที่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และร้อยละ 6 สำหรับความมั่งคั่งที่เกิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มภาษีความมั่นคั่งแบบก้าวหน้าจากครัวเรือนที่มีสินทรัพย์และรายได้มากกว่า 32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีเสนอให้มีภาษีความมั่งคั่งแต่ไม่มีรายละเอียด
Capital Investmentไม่มีข้อเสนอนี้เลิกระบบปัจจุบันที่ให้หักค่าเสื่อมแบบอัตราเร่งสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ปรับเปลี่ยนค่าเสื่อมทางเศรษฐศาสตร์สำหรับทุกการลงทุนเพื่อชดเชยบางส่วนจากผลประโยชน์ที่ได้จากการลงทุนในการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation) แทนแรงงาน รวมถึงจำกัดการหักลดหย่อนดอกเบี้ยที่ร้อยละ 20 ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีไม่มีข้อเสนอนี้
ภาษีอื่นๆ– ลดสิทธิประโยชน์ที่จะทำให้เกิดการหลบหลีก การเป็น Tax Havens และการ Outsource เพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่ทางภาษีที่ให้ประโยชน์แก่คนรวย และคนไม่ทำงาน  – เพิ่มการจ่ายเงินสมทบเพื่อการรักษาพยาบาลจากนายจ้าง – เสนอเก็บภาษีก้าวหน้าสำหรับค่าใช้จ่ายในการล็อบบี้ที่เกิน 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ – เก็บภาษีจากการซื้อหลักทรัพย์ทั้งหุ้น พันธบัตรและตราสารอนุพันธ์ร้อยละ 0.1เสนอให้เก็บภาษีธุรกรรมทางการเงิน (Financial Transaction Tax)– เสนอให้เก็บภาษี Financial Transaction Tax – เพิ่มภาษีคาร์บอนและเงินปันผล – ให้สามารถหักลดหย่อนได้มากขึ้นร้อยละ 50 สำหรับการลงทุนในชนบทหรือพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ
ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบนโนยบายภาษีของผู้สมัครพรรคเดโมแครตในภาษีประเภทต่างๆ
ที่มา: https://taxfoundation.org/2020-tax-plans/

[2] Earned Income Tax credit (EITC) เป็นการให้เงินคืนแก่ผู้ยื่นภาษีที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์

[3] Global Intangible Low Tax Income (GILTI) เป็นการกำหนดประเภทใหม่ของรายได้ที่เสียภาษี ภายใต้กฎหมาย Tax Cuts and Jobs Act ที่ประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม 2560 รายได้ต่างประเทศที่จะต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีในแต่ละปีตาม GILTI จะต้องเสียภาษีขั้นต่ำในอัตรา ร้อยละ 10.5 – 13.125 ต่อปี เพื่อเป็นการลดแรงจูงใจในการย้ายกำไรไปนอกประเทศสหรัฐฯ

จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่าผู้สมัครพรรคเดโมแครตส่วนใหญ่เสนอให้ปรับขึ้นอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 21 เป็นร้อยละ 28 และในอัตราเดิมที่ร้อยละ 35 เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลกลาง ซึ่งจากการศึกษาของ Tax Foundation พบว่าการขึ้นอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจในระยะยาวทั้งต่ออัตราการเติบโตของ GDP ค่าจ้าง และการจ้างงาน รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 3

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล25%28%35%
GDP-0.5%-1.0%-2.1%
มูลค่า GDP (พันล้านเหรียญสหรัฐ)-98-179-393
ค่าจ้าง-0.4%-0.8%-1.8%
การจ้างงาน (Full time)-103,000-187,000-413,000
ตารางที่ 3 ผลของการปรับเพิ่มอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเศรษฐกิจในระยะยาว
ที่มา: Tax Foundation General Equilibrium Model เดือนตุลาคม 2562

นอกจากนี้ผู้สมัครพรรคเดโมแครตทุกรายรวมถึงผู้สมัครรายล่าสุด นาย Michael Bloomberg ซึ่งถือว่าเป็นคนรวยอันดับ 8 ของโลกก็สนับสนุนนโยบายการจัดเก็บภาษีจากคนรวย โดยบางรายมีแนวคิดเก็บภาษีบริษัทขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น และจะยกเลิกกฎหมายภาษี Tax cuts and Jobs Act ที่ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศบังคับใช้เมื่อเดือนธันวาคมปี 2560 บางรายการ รวมทั้งมีแนวทางคล้ายคลึงกันในการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนของเงินปันผลและ Capital Gain โดยเพิ่มอัตราภาษีสำหรับครัวเรือนที่มีรายได้สูง ทั้งนี้ปัจจุบันอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเงินปันผลที่ได้รับสิทธิพิเศษและ Capital Gain (จากการถือครองเกิน 1 ปี) มีอัตราที่แตกต่างจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั่วไป ดังแสดงตามตารางที่ 4

ช่วงเงินได้ (เหรียญสหรัฐฯ) แยกยื่นช่วงเงินได้ (เหรียญสหรัฐฯ) ยื่นรวมอัตราภาษี (%)เงินปันผลทั่วไป*อัตราภาษี (%) เงินปันผลที่ได้รับสิทธิพิเศษอัตราภาษี (%)Capital Gain
0 – 9,5250 – 19,0501000
9,526 – 38,60019,501- 77,2001200
38,601- 38,70077,201 – 77,400121515
38,701 – 82,50077,401 – 165,000221515
82,501 -157,500165,001 – 315,000241515
157,501 – 200,00015,001 – 400,000321515
200,001- 425,800400,001 – 479,000351515
425,801 – 500,000479,001 – 600,000352020
> 500,000> 600,000372020
ตารางที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเงินปันผลและ Capital Gain ในปัจจุบัน
หมายเหตุ: ช่วงเงินได้สำหรับปี 2561 ทั้งนี้ช่วงเงินได้อาจมีการปรับตามอัตราเงินเฟ้อในปีถัดไป
*เป็นอัตราเท่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั่วไป

ทั้งนี้หากเปรียบเทียบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะเห็นว่าผู้สมัครที่มีความชัดเจนในเรื่องข้อเสนออัตราภาษีมีเพียง 2 รายเท่านั้น ได้แก่ นาย Biden และ นาย Sanders ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้ของนาย Sanders มุ่งเน้นเก็บภาษีจากผู้ที่มีรายได้สูงอย่างจริงจังโดยไม่กระทบผู้ที่มีรายได้ปานกลางโดยเพิ่มอัตราภาษีสำหรับเงินได้ที่เกิน 2.5 แสนเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และมีอัตราภาษีสูงสุดที่ร้อยละ 52 สำหรับเงินได้ที่เกิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ในขณะที่ข้อเสนอของนาย Biden มีการปรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่มีรายได้เกิน 9,525 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี เป็นต้นไป แต่คงอัตราภาษีเงินได้ในช่วงเงินได้ 2 – 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ และปรับเพิ่มอัตราภาษีสำหรับเงินได้ที่เกิน 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการปรับโครงสร้างอัตราภาษีในลักษณะนี้จะส่งผลต่อผู้ที่มีรายได้ปานกลางได้ ทั้งนี้รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 5

ช่วงเงินได้ (เหรียญสหรัฐ)อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (%) ปัจจุบันอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (%) ข้อเสนอ นาย Bidenอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (%) ข้อเสนอ นาย Sanders
0 – 9,525101010
9,526 – 38,700121512
38,701 – 82,500222522
82,501 -157,500242824
157,501 – 200,000323332
200,001- 250,000353535
250,001- 500,000353540
500,001- 2,000,0003739.645
2,00,001-10,00,0003739.650
>10,000,0013739.652
ตารางที่ 5 เปรียบเทียบข้อเสนออัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้สมัครพรรคเดโมแครต
ที่มา: Tax Foundation

นโยบายภาษีของผู้สมัครพรรคเดโมแครตส่วนใหญ่มุ่งเน้นในการสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับรัฐบาลกลางโดยไม่ส่งผลกระทบต่อคนชนชั้นกลางและช่วยผู้ที่มีรายได้น้อยมากขึ้น อย่างไรก็ดีข้อเสนอส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีรายได้สูงและบริษัทขนาดใหญ่ที่นาย Sanders เห็นว่ายังเสียภาษีไม่ครบถ้วนโดยมีการวางแผนภาษีจัดตั้งบริษัทในประเทศ Tax Haven จึงควรต้องแก้ไข และปรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นแนวคิดที่ควรต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศด้วยเช่นกัน

สำหรับประธานาธิบดี Trump ในฐานะตัวแทนพรรครีพับริกันเข้าแข่งขันตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในครั้งนี้และทีมอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อช่วยคนชนชั้นกลางในช่วงอัตราภาษีเงินได้ร้อยละ 24 เหลือร้อยละ 15 ที่เรียกว่า Tax cuts 2.0  เพื่อเอาใจคนอเมริกันและสร้างความแตกต่างจากนโยบายภาษีของผู้สมัครพรรคเดโมแครต เราคงต้องติดตามกันต่อไปว่านโยบายของผู้สมัครท่านใดจะโดนใจประชาชนชาวสหรัฐฯ มากที่สุดและจะสามารถชนะใจชาวอเมริกันเหนือประธานาธิบดี Trump ได้หรือไม่ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่านโยบายภาษีนอกจากจะถูกใจประชาชนแล้วจะต้องสามารถสร้างรายได้เพื่อตอบโจทย์กับนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ด้วยเช่นกัน

สุมาลี สถิตชัยเจริญ ผู้เขียน

สุมาลี สถิตชัยเจริญ
อัครราชทูต(เศรษฐกิจและการคลัง) ประจำกรุงวอชิงตัน
สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
ผู้เขียน