พาณิชยกรรมและหัตถกรรม: ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจภาคเหนือจากบันทึกข้าหลวงธรรมการ
การศึกษาเศรษฐกิจต่างมณฑลนอกเหนือจากกรุงเทพฯ พบว่ามีหลักฐานที่ให้รายละเอียดบันทึกสภาพความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของราษฎรต่างมณฑลน้อยมาก ฉะนั้นกรณีศึกษามณฑลพายัพได้รับคุณูปการจากบันทึกของข้าหลวงธรรมการ ที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ เพื่อตรวจสอบวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในด้าน “พาณิชยกรรมและหัตถกรรม” ในช่วงต้นรัชกาลที่ 6 จะสังเกตได้ว่าวิถีชีวิตส่วนใหญ่ของราษฎรมณฑลพายัพ ยังคงมีระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ และการสร้างรายได้จำกัดอยู่ในระดับครัวเรือน ส่งผลให้วิถีการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกมีไม่มากนัก ขณะเดียวกันตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 นโยบายของรัฐบาลมุ่งเน้นให้เกิดการขยายฐานเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก
กรมธนบัตร: ประวัติศาสตร์ธนบัตรไทยสมัยใหม่และรัฐกิจการเงินสมัยรัชกาลที่ 5
มูลเหตุสำคัญของการดำเนินการปฏิรูปการใช้ธนบัตร ล้วนเกี่ยวข้องกับบริบทการเข้ามาของระบอบอาณานิคมในประเทศสยาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบอบอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งมีอาณานิคมส่วนใหญ่ขนาบพื้นที่ด้านตะวันตกของประเทศสยาม ตั้งแต่ในพม่าและจรดแหลมมลายู