STAR ระบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงรุก เพื่อสร้างกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจ
งานศึกษานี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างระบบการติดตามข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจ เพื่อนำมาประมวลผลด้วยวิทยาการสมัยใหม่ที่สามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้ด้วยความรวดเร็ว โดยมีกระบวนการ Training Model ให้มีการเรียนรู้ข้อมูลและทำนายกลุ่มข้อมูลที่เรียนรู้เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูล อีกทั้งยังผสมผสานด้วยกระบวนการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคำต่าง ๆ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้วนำมาจัดทำเป็น Policy Dashboard แล้วนำมาประยุกต์เป็นตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Indicator) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงรุกในด้านนโยบายต่าง ๆ อย่าง “ตรงจุด ตรงประเด็น และตรงเวลา”
มุมมองเชิงลึก หนี้ครัวเรือนไทย
บทความฉบับนี้ทำการศึกษาข้อมูลหนี้ครัวเรือนผ่านฐานข้อมูล Micro Data จากการข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งการสำรวจด้านรายได้ที่มีข้อมูลปี 2562 และ 2564 ในขณะนี้เป็นฐานข้อมูลหลักในการวิเคราะห์
ปัญญาประดิษฐ์สามารถวิเคราะห์ความรู้สึกของประชาชน
ที่แสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ต่อสถานการณ์ COVID-19 ได้หรือไม่
งานศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในการสร้างแบบจำลอง Logistic Regression สำหรับการวิเคราะห์ความรู้สึก (Sentiment Analysis) ของประชาชนในประเทศไทยที่มีต่อสถานการณ์ COVID-19 ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ถึง 28 พฤศจิกายน 2564 ควบคู่ไปกับการสร้างแบบจำลองเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple Regression) สำหรับการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกของประชาชนและเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ดัชนีความเคลื่อนไหว (Google Mobility Index) เครื่องชี้การท่องเที่ยว (Travel Insights with Google) และจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่รายวัน ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลอง Logistic Regression เมื่อนำข้อมูลมาฝึกฝน (Train) ให้โปรแกรมเรียนรู้ว่าข้อความประเภทใดควรจะจัดให้อยู่ในการแสดงความรู้สึกทางบวกหรือทางลบ จะสามารถอธิบายข้อมูลที่ต้องการทดสอบ (Test) ได้ถูกต้องและแม่นถึงร้อยละ 90 และในส่วนของการทดสอบด้วยแบบจำลองเชิงเส้นอย่างง่าย พบว่า จำนวนความรู้สึกมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับดัชนีความเคลื่อนไหวของ (Google Mobility Index) และเครื่องชี้การท่องเที่ยว (Travel Insights with Google) ขณะที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวัน ไม่ว่าจะทดสอบในภาพรวมหรือจำแนกตามประเภทสื่อสังคมออนไลน์
วิถีใหม่ในการพยากรณ์อัตราการว่างงานไทย ด้วยข้อมูลจาก Google Trends และ Twitter
อัตราการว่างงานของไทยมีความสัมพันธ์กับข้อมูลจาก Google Trends มากกว่าข้อมูลจาก Twitter ทุกข้อมูล โดยข้อมูลจาก Google Trends ที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการว่างงานมากที่สุด คือ คำว่า “ว่างงาน” ส่วนข้อมูลจาก Twitter คำว่า “สัมภาษณ์งาน” มีค่าสหสัมพันธ์มากที่สุด
Data Analytics กำลังพาเราก้าวเข้าสู่ยุค Data Economy
การเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัลของภาครัฐถือเป็นประเด็นที่ท้าทายอย่างมาก ด้วยบุคลากรภาครัฐส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจและความพร้อมด้านดิจิทัล รวมทั้งองค์กรขาดความคล่องตัวด้านการจัดการและความสามารถในการบริหารความเปลี่ยน (Change Management) แต่หากสามารถก้าวข้ามความท้าทายดังกล่าวไปได้ จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถขับเคลื่อนการทำงานด้วยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ