ภาษีทรัพย์สินและการประเมินราคาทรัพย์สินของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าภาษีทรัพย์สินหรือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นแหล่งรายได้หลักของรัฐบาลที่นำไปใช้เป็นงบประมาณเพื่อพัฒนางานบริการชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการสังคม รวมทั้งบริการสาธารณะต่าง ๆ นอกจากนี้แล้ว ภาษีทรัพย์สินยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการที่ดิน รักษาเสถียรภาพราคาอสังหาริมทรัพย์ และสนับสนุนการกระจายอำนาจทางการเงินและการคลัง
เครื่องมือทางภาษีเพื่อช่วยแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
ปัญหามลพิษทางอากาศนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกไปในทางลบ ทั้งประเด็นฝุ่นละอองอันกระทบต่อปัญหาสุขภาพของประชากร และปัญหาโลกร้อนที่เป็นประเด็นสำคัญของประชาคมโลกที่ต้องร่วมมือกันแก้ไข ซึ่งประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหามลพิษทางอากาศดังกล่าวและเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ในประเด็นฝุ่นละออง คณะรัฐมนตรีได้มติให้การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี 2562
ปัจจัยที่ทำให้(ไม่)อยากเลี่ยงภาษี
ปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีนั้นเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในแง่รายได้ของภาครัฐ โครงสร้างความเป็นธรรมของระบบเศรษฐกิจ และเป็นปัญหาระดับโลกที่หน่วยงานภาครัฐต้องแก้ไขจัดการ ซึ่งการออกแบบนโยบายภาษีเพื่อการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เสียภาษีปฏิบัติตามได้ถูกต้องตามภาระที่แท้จริงนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ดังนั้น ความเข้าใจในปัจจัยและคุณลักษณะที่จะส่งผลให้บุคคลและนิติบุคคลมีแนวโน้มจะหลีกเลี่ยงภาษี (หรือชำระภาษีอย่างถูกต้อง) จะเป็นข้อมูลสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปใช้เพื่อการพิจารณาออกแบบนโยบายภาษีต่อไป
สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงปลายปี 2564
เชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีสถานที่ท่องเที่ยวในหลายรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวในหลายๆ รูปแบบ ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถาน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสะท้อนผ่านคำขวัญประจำจังหวัดเชียงใหม่ “ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติงามตา งามล้ำค่านครพิงค์”
อุทกภัยปี 2564 กระทบเศรษฐกิจไทยแค่ไหน?
สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบไปยังหลายจังหวัดของประเทศ โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรกรรม รองลงมาเป็นภาคบริการ และภาคอุตสาหกรรม ตามลำดับ
หลังเปิดประเทศ 1 พ.ย. เครื่องชี้เศรษฐกิจเร็วบอกอะไรบ้าง ?
บทความนี้จะนำเสนอผลจากเครื่องชี้เศรษฐกิจที่มีความรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเครื่องชี้หลายรายการที่มีความถี่สูง สามารถติดตามได้เป็นรายวันซึ่งแตกต่างจากเครื่องชี้เศรษฐกิจทั่วไปซึ่งมักจะมีความถี่เป็นรายเดือน
การท่องเที่ยวในลักษณะคลัสเตอร์กลุ่มจังหวัด
กับแนวทางเพิ่มโอกาสในการกระจายรายได้
ภาคการท่องเที่ยวของไทยมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาตลอดโดยเฉพาะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2562 ประเทศไทยได้รับรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศถึง 3 ล้านล้านบาท และเป็นแหล่งสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนไทยจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีการกระจายรายได้ไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
เปิดโลกผู้มีรายได้น้อยด้วย Machine Learning
การเปิดโลกผู้มีรายได้น้อยด้วย Machine Learning ในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ฐานข้อมูลของประชาชนเชิงลึก สำหรับในระยะถัดไป สามารถนำไปต่อยอดกับเทคโนโลยี Blockchain เชื่อมโยงการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ของประชาชน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคาดการณ์ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะตกอยู่ในความยากจนในอนาคต รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบและเสนอแนะนโยบายการคลังได้ตรงตามความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มที่มีความแตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ของรัฐบาล
การจำลองสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ด้วยแบบจำลอง SIR และการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจด้วยแบบจำลอง ABM
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ อย่างมาก แต่แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาคแบบดั่งเดิมจะใช้ประเมินผลกระทบในภาพรวม (Macroeconomic Level) อาจไม่สามารถวิเคราะห์ผลกระทบในระดับจุลภาคได้ (Microeconomic Level) ดังนั้น คณะผู้เขียนจึงได้พัฒนาแบบจำลองการระบาด Susceptible, Infectious, Recovered (SIR) ขึ้นเพื่อคาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อ และแบบจำลอง Agent-Based Modeling (ABM) ซึ่งใช้จำลองสถานการณ์และวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Agent ในระบบเศรษฐกิจเชิงจุลภาค (Micro Simulation Modelling) เพื่อประโยชน์ในการจัดทำนโยบายแบบมีกลุ่มเป้าหมาย (Targeted Policy) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Series บทความมาตรการทางการคลังกับวิกฤต COVID-19: : กรณีศึกษาโครงการคนละครึ่ง
การวิเคราะห์และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินมาตรการ/โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลภายใต้งบประมาณของประเทศที่มีจำกัด ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในการแสดงถึงความคุ้มค่าของงบประมาณหรือเงินกู้ที่รัฐบาลใช้ไป จากความก้าวหน้าและการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิตอลของโลกยุค 4.0 ที่ทำให้รัฐบาลได้กำหนดเงื่อนไขการใช้เงินผ่านแฟลตฟอร์มมือถือในหลาย ๆ โครงการในช่วงวิกฤต COVID-19 ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยลดการจับต้องวัตถุที่อาจเป็นสาเหตุในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสแล้ว ยังทำให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ศึกษาและประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ