Tag Archives: ผู้มีรายได้น้อย

NHTS-PR

Listahanan ได้รับการยกย่องจาก ธนาคารโลก ว่าเป็น “ตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดี” สำหรับประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการจะการลงทะเบียนดังกล่าว โดย Listahanan สามารถช่วยรัฐบาลสามารถกำหนดเป้าหมายโครงการต่าง ๆ ให้กับคนยากจนและกลุ่มเปราะบางอย่างถูกฝาถูกตัว โดยการบอกว่าครอบครัวที่ยากจนเป็นใครและอาศัยอยู่ที่ไหน ช่วยให้สามารถเลือกผู้รับผลประโยชน์จากโครงการของรัฐบาลได้อย่างเป็นกลางโดยใช้เกณฑ์ที่โปร่งใส เป็นกลาง และตรวจสอบได้ ซึ่งได้รับการตรวจสอบโดยชุมชน เพื่อประเมินความยากจนในครอบครัวชาวฟิลิปปินส์ (Dr. Mara Warwick, World Bank, 2015)

machine learning

การเปิดโลกผู้มีรายได้น้อยด้วย Machine Learning ในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ฐานข้อมูลของประชาชนเชิงลึก สำหรับในระยะถัดไป สามารถนำไปต่อยอดกับเทคโนโลยี Blockchain เชื่อมโยงการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ของประชาชน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคาดการณ์ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะตกอยู่ในความยากจนในอนาคต รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบและเสนอแนะนโยบายการคลังได้ตรงตามความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มที่มีความแตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ของรัฐบาล

แนวทางการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้พ้นจนอย่างยั่งยืน

การดำเนินนโยบายโดยการแทรกแซง/สนับสนุน “ตลาดแรงงานของแต่ละพื้นที่” ผ่านเครื่องมือทางการคลังอาจเป็นอีกหนึ่งหนทางที่สามารถเป็นเครื่องมือกระตุ้นอุปสงค์และอุปทานแรงงานได้โดยการให้เงินอุดหนุนและลดหย่อนภาษีให้กับผู้ประกอบการ หากผู้ประกอบการจ้างผู้มีรายได้น้อยตามสัดส่วนที่กำหนด ในขณะเดียวกันการใช้ “เบี้ยคนขยัน” เป็นแรงกระตุ้นอีกทางให้ผู้มีรายได้น้อยทำงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ นโยบายการคลังดังกล่าวจะสำเร็จและสามารถกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้นั้น ต้องอาศัยการเข้าถึงและความเข้าใจข้อมูลเชิงลึกในบริบทของแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลด้านสังคม วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของคนในชุมชนตลอดจนลักษณะกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่

การพัฒนาโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐให้ดีขึ้น

สิ่งสำคัญและความท้าทายนับจากนี้คือการให้ความสำคัญกับฐานข้อมูลและผลทางเศรษฐมิติเพื่อประกอบการพิจารณาสำหรับออกนโยบายให้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้คือการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการบูรณาการด้านการเชื่อมต่อข้อมูล (การเชื่อมต่อโดยอาศัย “เลขบัตรประชาชน” เป็นตัวกลาง) ซึ่งจะนำไปสู่ระบบการช่วยเหลือสวัสดิการอย่างเป็นระบบและลดความซ้ำซ้อนอีกด้ว

4/4