Author Archives: Editor Team

งานศึกษานี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างระบบการติดตามข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจ เพื่อนำมาประมวลผลด้วยวิทยาการสมัยใหม่ที่สามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้ด้วยความรวดเร็ว โดยมีกระบวนการ Training Model ให้มีการเรียนรู้ข้อมูลและทำนายกลุ่มข้อมูลที่เรียนรู้เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูล อีกทั้งยังผสมผสานด้วยกระบวนการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคำต่าง ๆ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้วนำมาจัดทำเป็น Policy Dashboard แล้วนำมาประยุกต์เป็นตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Indicator) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงรุกในด้านนโยบายต่าง ๆ อย่าง “ตรงจุด ตรงประเด็น และตรงเวลา”

climate change

Green Bond เป็นเครื่องมือสำคัญในการระดมทุนเพื่อดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยตลาด Green Bond มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากแรงผลักดันทางนโยบายที่เกี่ยวข้องและความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อมของนักลงทุน ในขณะเดียวกัน Green Bond ยังคงมีอุปสรรคและความท้าทายในการพัฒนาตลาด ซึ่งการให้ผู้กำหนดนโยบายเข้ามามีบทบาท รวมถึงการจัดทำหลักเกณฑ์ Green Bond ให้เป็นมาตรฐาน และเปิดโอกาสให้ผู้ออก Green Bond รายเล็กสามารถเข้าถึงตลาด Green Bond ได้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาตลาด Green Bond อย่างมาก

การกำจัดขยะมูลฝอยด้วยการฝังกลบส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในหลายด้าน ดังนั้น นานาประเทศจึงเลือกใช้มาตรการจัดเก็บภาษีหลุมฝังกลบในการบรรเทาปัญหาดังกล่าวข้างต้น สำหรับประเทศไทยแม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บภาษีหลุมฝังกลบบางประการ แต่หากปรับปรุงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยทั้งระบบให้ดีขึ้น การจัดเก็บภาษีดังกล่าวอาจเหมาะสมที่จะเป็นนวัตกรรมเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยในอนาคตได้

ธุรกิจประกันภัยได้ก้าวเข้าสู่ยุค Digital Transformation และผู้ประกอบการเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ทำให้เป็นประโยชน์และสะดวกต่อการเข้าถึงของลูกค้า ทั้งในด้านการเลือกซื้อบริการประกันภัย การพิจารณารับประกันภัย การแจ้งเคลม และการคืนเบี้ยประกัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เราจึงเริ่มได้ยินคำว่า “InsurTech” กันมากขึ้น

ปัญหาเศรษฐกิจศรีลังกาสืบเนื่องมาจากสงครามกลางเมืองที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 26 ปี รวมถึงการที่รัฐบาลศรีลังกาได้มีการกู้เงินจากต่างประเทศมาเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก อีกทั้ง เมื่อประสบกับวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้ศรีลังกาขาดรายได้จากภาคการท่องเที่ยว จึงยิ่งทำให้ปัญหาที่ศรีลังกาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศเพื่อมาใช้ชำระหนี้ต่างประเทศหนักขึ้นไปอีก อย่างไรก็ดี สำหรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจศรีลังกาสู่วิกฤตเศรษฐกิจไทย คาดว่ามีผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทั้งทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับศรีลังกาที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ

โลกนั้นมีความเป็น Globalization มากขึ้นเมื่อเทียบกับศตวรรษก่อนหน้า ความเชื่อมโยงของความสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมหมายความว่าความตึงเครียดจากมุมนึงของโลกก็อาจจะส่งผลกระทบไปได้ทั่วโลกได้อย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น บทความนี้จะกล่าวถึงความสำคัญของ Geopolitics ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาก Geopolitics และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจและภาคธุรกิจได้

ในปัจจุบัน หน่วยงานท้องถิ่นในต่างประเทศได้ดำเนินโครงการการระดมทุนสาธารณะ เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของคนในชุมชน ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความมีส่วนร่วมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของคนในชุมชนแล้ว ยังเป็นการช่วยลดภาระงบประมาณของภาครัฐในการบริการสาธารณะอีกด้วย

CMIM ถือเป็นความร่วมมือทางการเงินและกลไกความช่วยเหลือทางการเงิน (Financial Safety Net) ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน+3 และเป็นความร่วมมือทางการเงินที่เป็นรูปธรรมที่สุดของภูมิภาคอาเซียน+3 ภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM+3)

ภายหลังจากที่นายคิชิดะ ฟูมิโอะ ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564 รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการปรับเลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจ จากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของอดีตนายกรัฐมนตรีอาเบะ ชินโซ หรืออะเบะโนมิกส์ (Abenomics) ซึ่งเป็นเรือธงในการต่อสู้กับสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาของญี่ปุ่นมาเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี

ตุลาคม 2021 สหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ) ได้เปิดตัวกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจใหม่สำหรับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ภายใต้ชื่อ Indo-Pacific Economic Framework หรือ IPEF ซึ่งถือเป็นกรอบความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจแรกภายใต้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และเป็นกลไกสำคัญของสหรัฐฯ ในการเพิ่มอำนาจต่อรองเชิงเศรษฐกิจ (Economic Leverage) ในภูมิภาค เพื่อคานดุลอำนาจกับสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน)

80/189