Tag Archives: นรพัชร์ อัศววัลลภ

thailand

การกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจในระยะ 20 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มที่ดีทำให้เกิดความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นเห็นได้จากการเติบโตของผลิตภัณฑ์จังหวัดที่มีการไล่ตามกันระหว่างกลุ่มจังหวัดที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดต่ำแต่มีการเติบโตที่สูงในขณะที่มีบางกลุ่มจังหวัดที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดสูงแต่มีอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่า อีกทั้งยังเห็นได้ว่าการเติบโตของแต่ละจังหวัดมีความสัมพันธ์กับจังหวัดที่อยู่ข้างเคียงอย่างค่อนข้างมีนัยสำคัญทำให้การเติบโตของจังหวัดต่างๆ มีแนวโน้มที่จะเติบโตเกาะกลุ่มไปด้วยกัน

งานศึกษานี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างระบบการติดตามข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจ เพื่อนำมาประมวลผลด้วยวิทยาการสมัยใหม่ที่สามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้ด้วยความรวดเร็ว โดยมีกระบวนการ Training Model ให้มีการเรียนรู้ข้อมูลและทำนายกลุ่มข้อมูลที่เรียนรู้เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูล อีกทั้งยังผสมผสานด้วยกระบวนการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคำต่าง ๆ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้วนำมาจัดทำเป็น Policy Dashboard แล้วนำมาประยุกต์เป็นตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Indicator) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงรุกในด้านนโยบายต่าง ๆ อย่าง “ตรงจุด ตรงประเด็น และตรงเวลา”

บทความฉบับนี้ทำการศึกษาข้อมูลหนี้ครัวเรือนผ่านฐานข้อมูล Micro Data จากการข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งการสำรวจด้านรายได้ที่มีข้อมูลปี 2562 และ 2564 ในขณะนี้เป็นฐานข้อมูลหลักในการวิเคราะห์

เมื่อกล่าวถึงหนี้โดยรวมของประเทศ ในภาพใหญ่ๆ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ หนี้สาธารณะและหนี้ภาคเอกชน ในขณะที่หนี้ภาคเอกชนก็สามารถแบ่งได้เป็นอีก 2 ประเภทคือ หนี้ที่ก่อโดยนิติบุคคล และหนี้ที่ก่อโดยบุคคลธรรมดา ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของหนี้ที่ก่อโดยบุคคลธรรมดาหรือที่มักจะเรียกกันว่า หนี้ครัวเรือน (Household Debt)

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำร่องการส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ โดยใช้จังหวัดเป็นฐาน เน้นการกระจายอำนาจและให้อิสระแก่สถานศึกษานำร่องและหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดนั้น ๆ ให้มีความคล่องตัวในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่เน้นการพัฒนากลไกการจัดการศึกษาร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่

บทความนี้จะพาผู้อ่านไปติดตามการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา รวมถึงการเป็นพื้นที่นำร่องของการเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างจังหวัดขอนแก่น ที่ถือว่าเป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่นมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ เน้นการขับเคลื่อน 3 ด้านหลัก คือ การขนส่ง Logistics & Transportation หรือ Smart Mobility ด้านการประชุมและเศรษฐกิจ MICE City หรือ Smart Economy และด้านการแพทย์ Medical & Healthcare หรือ Smart Living มุ่งสู่การเป็น Medical Hub of  AEC ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ต้องการดูแลสุขภาพเดินทางมายังประเทศไทย และหากพูดถึงจังหวัดขอนแก่นเราอาจจะนึกถึงภาพของไดโนเสาร์หรือวัตถุโบราณ ตามคำขวัญของจังหวัด “พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก” แต่ในปัจจุบันขอนแก่นได้พัฒนาจากภาพจำเมื่อก่อนไปมาก

งานศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในการสร้างแบบจำลอง Logistic Regression สำหรับการวิเคราะห์ความรู้สึก (Sentiment Analysis) ของประชาชนในประเทศไทยที่มีต่อสถานการณ์ COVID-19 ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ถึง 28 พฤศจิกายน 2564 ควบคู่ไปกับการสร้างแบบจำลองเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple Regression) สำหรับการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกของประชาชนและเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ดัชนีความเคลื่อนไหว (Google Mobility Index) เครื่องชี้การท่องเที่ยว (Travel Insights with Google) และจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่รายวัน ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลอง Logistic Regression เมื่อนำข้อมูลมาฝึกฝน (Train) ให้โปรแกรมเรียนรู้ว่าข้อความประเภทใดควรจะจัดให้อยู่ในการแสดงความรู้สึกทางบวกหรือทางลบ จะสามารถอธิบายข้อมูลที่ต้องการทดสอบ (Test) ได้ถูกต้องและแม่นถึงร้อยละ 90 และในส่วนของการทดสอบด้วยแบบจำลองเชิงเส้นอย่างง่าย พบว่า จำนวนความรู้สึกมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับดัชนีความเคลื่อนไหวของ (Google Mobility Index) และเครื่องชี้การท่องเที่ยว (Travel Insights with Google) ขณะที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวัน ไม่ว่าจะทดสอบในภาพรวมหรือจำแนกตามประเภทสื่อสังคมออนไลน์

การพัฒนาที่มีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่โดยส่วนใหญ่จะมาจากการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่สามารถตอบโจทย์ที่สอดคล้องกับปัญหาของพื้นที่นั้นๆ ดังตัวอย่างกรณีประเทศสเปน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

แบบจำลอง Nowcasting จะประกอบด้วยแบบจำลองหลักที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องชี้เศรษฐกิจกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ และแบบจำลองเสริมที่มีหน้าที่คาดการณ์เครื่องชี้เศรษฐกิจในกรณีที่เครื่องชี้เศรษฐกิจยังไม่ถูกเผยแพร่ ดังนั้น การทำงานของแบบจำลองจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มแบบจำลองทั้งสอง

เชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีสถานที่ท่องเที่ยวในหลายรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวในหลายๆ รูปแบบ ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถาน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสะท้อนผ่านคำขวัญประจำจังหวัดเชียงใหม่ “ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติงามตา งามล้ำค่านครพิงค์”

20/28